แร่มีอะไรบ้างที่ช่วยส่งเสริมประโยชน์จากธรรมชาติสู่เทคโนโลยี

‘แร่’ สารประกอบอนินทรีย์หรือธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอน และมีโครงสร้างผลึกที่เป็นระเบียบ แม้บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ก็อยู่ในวงจำกัด ซึ่งหลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้ว แร่ยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

ทำความรู้จัก ประโยชน์ของแร่มีอะไรบ้าง ?

แร่ธาตุมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้หลัก ๆ ดังนี้

เป็นแหล่งพลังงาน

แร่ธาตุอย่างถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนโลก ทั้งในการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในปริมาณมาก นอกจากจะเสี่ยงต่อการใช้จนหมดสิ้นไปแล้ว ยังถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนและสิ่งแวดล้อม ให้สามารถนำพลังงานจากแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด

เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม

แร่ธาตุเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ตั้งแต่เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงและยานพาหนะ, การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ตโฟนและรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการใช้อะลูมิเนียมที่เบาแต่แข็งแรงในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุบางส่วนที่นำไปพัฒนาเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี เพื่อใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

เป็นแหล่งของเครื่องประดับ

การใช้ประโยชน์จากแร่ไม่ได้จำกัดไว้แค่เพียงใช้เป็นพลังงานสำคัญ หรือเป็นส่วนประกอบหลักในอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังมีความโดดเด่นอย่างยิ่งในด้านส่งเสริมความสวยงาม โดยแร่ธาตุ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน และมรกต ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เนื่องจากมีความแข็งแรง แวววาว อีกทั้งยังมีสีสันที่สวยงาม และหายากอย่างยิ่ง จึงเป็นเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอมา

เป็นแหล่งของสารเคมี

แร่ธาตุหลายชนิดเป็นแหล่งของสารเคมีที่สำคัญในอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น ฟอสเฟตที่ใช้สำหรับการผลิตสารทำความสะอาดและยา, กำมะถัน ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เกลือหินที่ใช้ในการผลิตคลอรีนและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งใช้ในการทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรก เช่น สบู่ และเคมีภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ

รู้จักแร่ธาตุแห่งอนาคต มีอะไรบ้าง ?

โลกในยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ซึ่งล้วนอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน หนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือแร่ธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าแร่ธาตุที่ถูกขนานนามว่าเป็น แร่ธาตุแห่งอนาคต

ลิเธียม (Lithium)

ลิเธียม เป็นธาตุโลหะอัลคาไลน์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ที่เป็นหัวใจสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยในปัจจุบัน ความต้องการลิเธียมได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้กลายเป็นแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก

แทนทาลัม (Tantalum)

แทนทาลัม เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และสามารถนำความร้อนได้ดี ด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ทำให้แทนทาลัมถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท เช่น ตัวเก็บประจุในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ แทนทาลัมยังใช้ในการผลิตโลหะผสมที่มีความแข็งแรงสูงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศและการทหาร

แคสซิเทอไรต์ (Cassiterite)

แคสซิเทอไรต์ เป็นแร่ธาตุของดีบุก ซึ่งเป็นโลหะที่มีความยืดหยุ่นและทนต่อการกัดกร่อน โดยดีบุกถูกนำไปใช้ในการผลิตโลหะผสม เช่น บรอนซ์ ซึ่งมีทองแดงเป็นส่วนผสมหลัก และใช้เคลือบเหล็กเพื่อป้องกันสนิม นอกจากนี้ ยังนำไปใช้ในการผลิตกระป๋องอาหารและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตแผงวงจรพิมพ์

การใช้ประโยชน์จากแร่ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต

เบริลเลียม (Beryllium)

เบริลเลียม เป็นโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง และนำความร้อนได้ดี จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงสูง เช่น อุตสาหกรรมอวกาศ ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการทหาร รวมถึงใช้ในการผลิตหลอดรังสีเอกซ์และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

วูลแฟรม, ทังสเตน (Wolframite, Tungsten)

วูลแฟรม หรือทังสเตน เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อการสึกหรอ และมีความแข็งแรงมาก จึงเหมาะสำหรับใช้ในการผลิตเครื่องมือตัดเฉือน เตาหลอม และเส้นใยทนความร้อน นอกจากนี้ ทังสเตนยังถูกนำไปใช้ในการผลิตกระสุนปืน และโลหะผสมสำหรับอุตสาหกรรมการทหาร

แมงกานีส (Manganese)

แมงกานีส เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความสำคัญในการผลิตเหล็กกล้า โดยเฉพาะเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความทนทาน และความต้านทานต่อการกัดกร่อน นอกจากนี้ แมงกานีสยังถูกนำไปใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ และสารเคมีต่าง ๆ

แร่ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่มีทรัพยากรแร่ที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากแร่ควรคำนึงถึงความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอันล้ำค่านี้ได้อย่างยาวนานและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงยังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องเผชิญ เช่น การขาดแคลนแหล่งแร่ธาตุและการแข่งขันเพื่อครอบครองแหล่งแร่ธาตุ

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อขายแร่ ที่มุ่งเน้นเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าสู่กระบวนการซื้อขายได้กับ HRT Recycling บริษัทรับซื้อแร่และจำหน่ายแร่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยบริการที่ครอบคลุมและปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของตลาดแร่ โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกการรับซื้อขายแร่ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อขายลิเธียม แทนทาลัม เบริลเลียม วูลแฟรม แมงกานีส รวมถึงรับซื้อขายดีบุก เป็นไปอย่างสะดวก ไร้อุปสรรค ในราคารับซื้อที่ครอบคลุม พร้อมการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด รวมถึงบริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ จึงมั่นใจได้ว่า HRT Recycling จะนำเสนอโซลูชันการจัดหาแร่ที่ยอดเยี่ยม จากเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ทั่วโลก !

แหล่งอ้างอิง

  1. แร่. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7187-2017-06-08-14-16-10
  2. แร่ธาตุลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.springnews.co.th/program/keep-the-world/847870

แร่มีอะไรบ้างที่ช่วยส่งเสริมประโยชน์จากธรรมชาติสู่เทคโนโลยี

‘แร่’ สารประกอบอนินทรีย์หรือธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอน และมีโครงสร้างผลึกที่เป็นระเบียบ แม้บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ก็อยู่ในวงจำกัด ซึ่งหลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้ว แร่ยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

ทำความรู้จัก ประโยชน์ของแร่มีอะไรบ้าง ?

แร่ธาตุมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้หลัก ๆ ดังนี้

เป็นแหล่งพลังงาน

แร่ธาตุอย่างถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนโลก ทั้งในการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในปริมาณมาก นอกจากจะเสี่ยงต่อการใช้จนหมดสิ้นไปแล้ว ยังถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนและสิ่งแวดล้อม ให้สามารถนำพลังงานจากแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด

เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม

แร่ธาตุเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ตั้งแต่เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงและยานพาหนะ, การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ตโฟนและรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการใช้อะลูมิเนียมที่เบาแต่แข็งแรงในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุบางส่วนที่นำไปพัฒนาเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี เพื่อใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

เป็นแหล่งของเครื่องประดับ

การใช้ประโยชน์จากแร่ไม่ได้จำกัดไว้แค่เพียงใช้เป็นพลังงานสำคัญ หรือเป็นส่วนประกอบหลักในอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังมีความโดดเด่นอย่างยิ่งในด้านส่งเสริมความสวยงาม โดยแร่ธาตุ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน และมรกต ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เนื่องจากมีความแข็งแรง แวววาว อีกทั้งยังมีสีสันที่สวยงาม และหายากอย่างยิ่ง จึงเป็นเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอมา

เป็นแหล่งของสารเคมี

แร่ธาตุหลายชนิดเป็นแหล่งของสารเคมีที่สำคัญในอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น ฟอสเฟตที่ใช้สำหรับการผลิตสารทำความสะอาดและยา, กำมะถัน ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เกลือหินที่ใช้ในการผลิตคลอรีนและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งใช้ในการทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรก เช่น สบู่ และเคมีภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ

รู้จักแร่ธาตุแห่งอนาคต มีอะไรบ้าง ?

โลกในยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ซึ่งล้วนอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน หนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือแร่ธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าแร่ธาตุที่ถูกขนานนามว่าเป็น แร่ธาตุแห่งอนาคต

ลิเธียม (Lithium)

ลิเธียม เป็นธาตุโลหะอัลคาไลน์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ที่เป็นหัวใจสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยในปัจจุบัน ความต้องการลิเธียมได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้กลายเป็นแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก

แทนทาลัม (Tantalum)

แทนทาลัม เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และสามารถนำความร้อนได้ดี ด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ทำให้แทนทาลัมถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท เช่น ตัวเก็บประจุในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ แทนทาลัมยังใช้ในการผลิตโลหะผสมที่มีความแข็งแรงสูงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศและการทหาร

แคสซิเทอไรต์ (Cassiterite)

แคสซิเทอไรต์ เป็นแร่ธาตุของดีบุก ซึ่งเป็นโลหะที่มีความยืดหยุ่นและทนต่อการกัดกร่อน โดยดีบุกถูกนำไปใช้ในการผลิตโลหะผสม เช่น บรอนซ์ ซึ่งมีทองแดงเป็นส่วนผสมหลัก และใช้เคลือบเหล็กเพื่อป้องกันสนิม นอกจากนี้ ยังนำไปใช้ในการผลิตกระป๋องอาหารและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตแผงวงจรพิมพ์

การใช้ประโยชน์จากแร่ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต

เบริลเลียม (Beryllium)

เบริลเลียม เป็นโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง และนำความร้อนได้ดี จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงสูง เช่น อุตสาหกรรมอวกาศ ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการทหาร รวมถึงใช้ในการผลิตหลอดรังสีเอกซ์และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

วูลแฟรม, ทังสเตน (Wolframite, Tungsten)

วูลแฟรม หรือทังสเตน เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อการสึกหรอ และมีความแข็งแรงมาก จึงเหมาะสำหรับใช้ในการผลิตเครื่องมือตัดเฉือน เตาหลอม และเส้นใยทนความร้อน นอกจากนี้ ทังสเตนยังถูกนำไปใช้ในการผลิตกระสุนปืน และโลหะผสมสำหรับอุตสาหกรรมการทหาร

แมงกานีส (Manganese)

แมงกานีส เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความสำคัญในการผลิตเหล็กกล้า โดยเฉพาะเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความทนทาน และความต้านทานต่อการกัดกร่อน นอกจากนี้ แมงกานีสยังถูกนำไปใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ และสารเคมีต่าง ๆ

แร่ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่มีทรัพยากรแร่ที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากแร่ควรคำนึงถึงความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอันล้ำค่านี้ได้อย่างยาวนานและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงยังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องเผชิญ เช่น การขาดแคลนแหล่งแร่ธาตุและการแข่งขันเพื่อครอบครองแหล่งแร่ธาตุ

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อขายแร่ ที่มุ่งเน้นเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าสู่กระบวนการซื้อขายได้กับ HRT Recycling บริษัทรับซื้อแร่และจำหน่ายแร่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยบริการที่ครอบคลุมและปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของตลาดแร่ โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกการรับซื้อขายแร่ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อขายลิเธียม แทนทาลัม เบริลเลียม วูลแฟรม แมงกานีส รวมถึงรับซื้อขายดีบุก เป็นไปอย่างสะดวก ไร้อุปสรรค ในราคารับซื้อที่ครอบคลุม พร้อมการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด รวมถึงบริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ จึงมั่นใจได้ว่า HRT Recycling จะนำเสนอโซลูชันการจัดหาแร่ที่ยอดเยี่ยม จากเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ทั่วโลก !

แหล่งอ้างอิง

  1. แร่. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7187-2017-06-08-14-16-10
  2. แร่ธาตุลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.springnews.co.th/program/keep-the-world/847870

ของที่รีไซเคิลได้ประเภทไหนขายได้ราคาดี ?

รู้ไหม การนำขยะรีไซเคิลไปขาย อาจสร้างรายได้มากกว่าที่คิด

การรีไซเคิล ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณขยะ ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว การรีไซเคิลยังสามารถสร้างรายได้เสริมอีกด้วย แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า ขยะรีไซเคิลประเภทไหนที่ขายได้ราคาดีที่สุด ? วันนี้เรามาแจกแจงราคาขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท พร้อมทั้งเคล็ดลับในการเตรียมขยะเพื่อให้ขายได้ราคาดีที่สุด ติดตามเลย

ของอะไรบ้างที่รีไซเคิลได้ ?

ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับประเภทของที่รีไซเคิลได้ ซึ่งแน่นอนว่ามีด้วยกันหลากหลาย แต่เราสามารถจัดแบ่งตามประเภทได้ดังนี้

  • กระดาษ : รวมถึงกระดาษขาว-ดำ กระดาษสี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องกระดาษ และกระดาษลัง
  • แก้ว : ขวดแก้ว แก้วแตก และภาชนะแก้วต่าง ๆ
  • โลหะ : เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง สเตนเลส เป็นต้น
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ : คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ หูฟัง เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อุปกรณ์เครื่องเสียง
  • แบตเตอรี่ : แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง และแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ

ราคาขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท

เมื่อเรารู้แล้วว่าของที่รีไซเคิลได้มีอะไรบ้าง ก็มาถึงในส่วนข้อมูลราคาขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท เพราะยิ่งมีความรู้เรื่องนี้เท่าไร ก็จะทำให้ไม่โดนเอาเปรียบเวลาที่นำขยะรีไซเคิลไปขาย 

  • โลหะ :
    • ทองแดงเป็นโลหะที่มีราคาสูงที่สุดในบรรดาขยะรีไซเคิลทั่วไป โดยราคาอยู่ที่ประมาณ 150-200 บาทต่อกิโลกรัม
    • ทองเหลืองมีราคาประมาณ 100-150 บาทต่อกิโลกรัม
    • อะลูมิเนียมมีราคาประมาณ 50-70 บาทต่อกิโลกรัม
  • อิเล็กทรอนิกส์ :คอมพิวเตอร์เก่าอาจขายได้ราคาตั้งแต่ 100-1,000 บาทต่อเครื่อง ขึ้นอยู่กับรุ่นและสภาพ
    • โทรศัพท์มือถือเก่าอาจขายได้ตั้งแต่ 50-500 บาทต่อเครื่อง
  • กระดาษ :
    • กระดาษขาว-ดำมีราคาสูงสุดที่ประมาณ 7-10 บาทต่อกิโลกรัม
    • กระดาษสีและกระดาษหนังสือพิมพ์มีราคาประมาณ 3-5 บาทต่อกิโลกรัม
  • พลาสติก :
    • ขวดพลาสติกใสมีราคาประมาณ 10-15 บาทต่อกิโลกรัม
    • ถุงพลาสติกและพลาสติกอื่น ๆ มีราคาประมาณ 5-10 บาทต่อกิโลกรัม
  • แก้ว :
    • แก้วเป็นวัสดุที่มีราคารับซื้อต่ำที่สุดในบรรดาขยะรีไซเคิลทั่วไป โดยมีราคาประมาณ 1-2 บาทต่อกิโลกรัม
  • แบตเตอรี่ :
    • ราคาแตกต่างกันไปตามชนิดของแบตเตอรี่และสภาพตลาด แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 30-50 บาทต่อกิโลกรัม

อย่างไรก็ตาม ราคาขยะรีไซเคิลเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาพตลาดและความต้องการรีไซเคิลของเหลือใช้ในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น จึงควรหมั่นติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อหาจังหวะที่จะสามารถสร้างรายได้จากการนำขยะรีไซเคิลไปขายได้มากที่สุด

คนกำลังจัดการกับของที่รีไซเคิลได้ประเภทแบตเตอรี่

วิธีการเตรียมของที่รีไซเคิลได้ไปขายเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด

  1. แยกขยะตามประเภท : การแยกของที่รีไซเคิลได้ตามประเภทอย่างชัดเจนจะช่วยให้ผู้รับซื้อสามารถประเมินราคาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณได้ราคาที่ดีกว่าการนำขยะหลายประเภทมาปนกัน เช่น แยกขวดพลาสติกใสออกจากพลาสติกชนิดอื่น หรือแยกโลหะแต่ละชนิดออกจากกัน
  2. ทำความสะอาดขยะ : ขยะที่สะอาดจะได้ราคาดีกว่าขยะสกปรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพลาสติกและแก้ว ควรล้างทำความสะอาดและตากให้แห้งก่อนนำไปขาย สำหรับกระดาษ ควรแยกส่วนที่เปียกหรือเปื้อนออก ส่วนโลหะควรกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกให้มากที่สุด
  3. บดหรืออัดขยะ : การบดหรืออัดขยะให้มีขนาดเล็กลงจะช่วยประหยัดพื้นที่ในการขนส่งและจัดเก็บ ทำให้ได้ราคาขยะรีไซเคิลที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสำหรับพลาสติกและกระดาษ เช่น การบีบอัดขวดพลาสติกหรือกล่องกระดาษให้แบนลง
  4. จัดเรียงขยะให้เรียบร้อย : การจัดเรียงของที่รีไซเคิลได้อย่างเป็นระเบียบจะช่วยให้ผู้รับซื้อสามารถประเมินปริมาณและคุณภาพของขยะได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ได้ราคาขยะรีไซเคิลที่ดีขึ้น เช่น การมัดกระดาษเป็นปึก หรือการบรรจุขวดพลาสติกลงในถุงใสเพื่อให้เห็นปริมาณชัดเจน
  5. สะสมขยะรีไซเคิลให้ได้ปริมาณมาก ๆ ก่อนนำไปขาย : เพราะการขายในปริมาณมากอาจได้ราคาต่อหน่วยที่ดีกว่าการขายทีละน้อย โดยเฉพาะสำหรับวัสดุที่มีราคาต่อกิโลกรัมไม่สูงมาก เช่น กระดาษหรือพลาสติก

การรีไซเคิลของเหลือใช้ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างรายได้เสริมเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย เรียกได้ว่านี่คือสิ่งที่ควรทำเพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อยากกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี แถมได้ราคาดี ให้ HRT Recycling เป็นผู้ช่วย

ผู้ประกอบการท่านใดต้องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิส์อย่างปลอดภัย และสามารถสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิส์มาขายได้ที่ HRT Recycling บริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายการที่รับซื้อมีดังต่อไปนี้

  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เซิร์ฟเวอร์ โทรศัพท์มือถือ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เตาไมโครเวฟ และเครื่องใช้ในครัวเรือนอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์
  • อุปกรณ์ภาพและเสียง เช่น เครื่องเล่น DVD เครื่องเล่น Blu-ray ระบบสเตอริโอ ลำโพง หูฟัง และอุปกรณ์ภาพและเสียงอื่น ๆ
  • กล้องดิจิทัล กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์เสริม เช่น การ์ดหน่วยความจำ และแบตเตอรี่
  • คอนโซลวิดีโอเกม ตัวควบคุม และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง
  • อุปกรณ์เครือข่าย เช่น เราเตอร์ โมเด็ม สวิตช์ และอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
  • อินเทอร์เน็ต เครื่องพิมพ์และเครื่องสแกน เช่น เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต เครื่องพิมพ์เลเซอร์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง
  • อุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ เครื่องทำลายเอกสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่พบได้ทั่วไปในสำนักงาน

ในฐานะผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เรารีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. 7 Tips to Recycle Better. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 จาก https://www.earthday.org/7-tips-to-recycle-better/

วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้อง ปลอดภัยต่อโลก ทำตามได้เลย

“พาวเวอร์แบงก์ต้องทิ้งยังไง ?”

เรียกได้ว่าทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ตโฟน กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนเราไปแล้ว ด้วยประโยชน์ใช้งานที่หลากหลาย ทั้งความบันเทิง การเรียน การประชุม ประสานงาน สุขภาพ สังคมเพื่อน และอื่น ๆ รวมอยู่ในเครื่องเดียว ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วันหนึ่งจะใช้งานหลายชั่วโมง รู้ตัวอีกทีแบตเตอรี่ก็ลดฮวบ จนต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมอย่าง “พาวเวอร์แบงก์” อย่างไรก็ดี เมื่อเลือกที่จะใช้งานแล้ว ก็ควรรู้วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ด้วย เพราะถ้าทิ้งผิดวิธี สิ่งนี้สามารถทำร้ายโลกได้มากกว่าที่คิด ส่วนจะต้องทิ้งยังไง รู้ได้ในบทความนี้เลย

วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ที่พังแล้วอย่างปลอดภัย

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการทิ้งพาวเวอร์แบงก์ ?

พาวเวอร์แบงก์ประกอบด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งมีส่วนที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหากกำจัดไม่ถูกวิธี เช่น โลหะหนัก และสารเคมีต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าเราทิ้งพาวเวอร์แบงก์ลงในถังขยะทั่วไป สารพิษเหล่านี้อาจรั่วไหลและปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว

นอกจากนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดหรือลุกไหม้ได้ หากได้รับความร้อนสูง หรือถูกกระแทกอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ การทิ้งพาวเวอร์แบงก์ในถังขยะทั่วไปจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อพนักงานเก็บขยะได้

อีกประเด็นสำคัญคือ พาวเวอร์แบงก์มีส่วนประกอบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้น ถ้าทราบถึงวิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ก็ช่วยให้สามารถนำทรัพยากรเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ

วิธีการทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้องและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  1. ตรวจสอบสถานะของพาวเวอร์แบงก์ : ก่อนเริ่มวิธีทิ้งแบตเตอรี่สำรอง แนะนำให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์นั้นเสียจริง ๆ หรือไม่ บางครั้งปัญหาอาจเกิดจากสายชาร์จหรือพอร์ตที่ใช้งาน ลองเปลี่ยนสายชาร์จ หรือทดสอบกับอุปกรณ์อื่น ๆ ก่อน ถ้าตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าพาวเวอร์แบงก์เสียจริง จึงดำเนินการขั้นตอนต่อไป
  2. คายประจุไฟฟ้าให้หมด : เพื่อความปลอดภัย ควรคายประจุไฟฟ้าในพาวเวอร์แบงก์ให้หมดก่อนทิ้ง โดยเสียบสายชาร์จเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และปล่อยให้พลังงานหมดจนกระทั่งไม่สามารถชาร์จได้อีก วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ขั้นตอนนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิดระหว่างการขนส่งและการกำจัด
  3. แยกชิ้นส่วนที่รีไซเคิลได้ : สำหรับผู้ที่มีความรู้ การแยกชิ้นส่วนของพาวเวอร์แบงก์ออกจากกัน โดยแยกส่วนที่เป็นพลาสติก โลหะ และแผงวงจรออกจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะช่วยให้กระบวนการรีไซเคิลง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีทักษะดังกล่าวก็ไม่ควรพยายามแยกชิ้นส่วนด้วยตนเอง เนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้
  4. ใช้บริการบริษัทรับรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ : ในประเทศไทยมีบริษัทที่ให้บริการรับรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ บริษัทเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่อย่างปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บางบริษัทอาจมีบริการรับของถึงที่ ซึ่งสะดวกสำหรับผู้ที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก

ถ้าพาวเวอร์แบงก์ที่ใช้งานไม่ได้แล้วควรใช้บริการบริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์

ถ้าเราทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกวิธีจะมีผลดีอย่างไร ?

  • ลดมลพิษ : วิธีทิ้งแบตเตอรี่สำรองที่ถูกต้องช่วยป้องกันการรั่วไหลของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ลดการปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ ส่งผลดีต่อระบบนิเวศและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อาจเกิดขึ้นจากการย่อยสลายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในหลุมฝังกลบอีกด้วย
  • ประหยัดทรัพยากร : การรีไซเคิลพาวเวอร์แบงก์ช่วยให้สามารถนำวัสดุมีค่า เช่น เงิน ทองแดง และโลหะอื่น ๆ กลับมาใช้ใหม่ได้ โดยยิ่งมีการนำกลับมาใช้ใหม่เท่าไร ก็ยิ่งช่วยลดการทำเหมืองและการสกัดทรัพยากรใหม่ ส่งผลให้ประหยัดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตได้มากเท่านั้น
  • ลดปริมาณขยะ : แน่นอนว่าวิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ที่ถูกต้องย่อมช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบหรือเผาทำลาย ทำให้ยืดอายุการใช้งานของหลุมฝังกลบและลดมลพิษจากการเผาขยะ นอกจากนี้ยังช่วยลดพื้นที่ที่ต้องใช้ในการจัดการขยะ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในหลายเมืองทั่วโลก
  • สร้างความตระหนักรู้ : เมื่อคนรอบตัวเห็นเราหรือหน่วยงานของเราใช้วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะอยากทำตาม สิ่งนี้ถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้าง ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการขยะประเภทอื่น ๆ ด้วย
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน : ปลายทางของวิธีทิ้งแบตเตอรี่สำรองที่ถูกต้องคือ การรีไซเคิลพาวเวอร์แบงก์ ซึ่งสิ่งนี้สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดของเสีย โดยการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ในวงจรการผลิต

อยากกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ให้ HRT Recycling เป็นผู้ช่วย

การทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้องคือสิ่งที่คนทั่วไปควรทำ ส่วนผู้ประกอบการที่มีพลังในการช่วยโลกได้มากกว่า ก็ขอแนะนำให้กำจัดแบตเตอรี่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแบบถูกวิธี ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเลือกใช้บริการ HRT Recycling เราคือบริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ รับซื้อขายแร่ รับซื้อขายลิเธียม ในฐานะผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เรารีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. How to Properly Recycle or Dispose of a Power Bank. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จาก https://circular.eco/article/how-to-recycle-or-dispose-of-a-power-bank
  2. Safe battery recycling. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.epa.nsw.gov.au/your-environment/recycling-and-reuse/household-recycling-overview/safe-battery-recycling

เช็กสัญญาณเตือนแบตเตอรี่เก่าเสื่อมสภาพ เอาไปทำอะไรได้บ้าง ?

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ จึงต้องการแหล่งพลังงานจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เสถียรอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้แบตเตอรี่เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสิ้นเปลือง เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ และกลายเป็นขยะที่หลายคนมองข้าม บทความนี้จึงจะพามารู้จักกับแบตเตอรี่แต่ละประเภทให้ละเอียด พร้อมช่วยไขคำตอบว่าแบตเตอรี่เก่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

รู้จักแบตเตอรี่เก่า ก่อนศึกษาว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

ทำความรู้จัก แบตเตอรี่มีกี่ประเภท

ปัจจุบันมีการพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพและหลากหลายชนิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นแบตเตอรี่ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เมื่อพลังงานหมดแล้วไม่สามารถชาร์จไฟใหม่ได้ ต้องทิ้งและเปลี่ยนใหม่ โดยมักใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานต่ำ เช่น รีโมตคอนโทรล นาฬิกาข้อมือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น

  • แบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน เป็นแบตเตอรี่ชนิดแรก ๆ ที่ผลิตขึ้น มีราคาถูก แต่มีพลังงานต่ำ
  • แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ให้พลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน มีอายุการใช้งานนานกว่า เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานปานกลาง
  • แบตเตอรี่ลิเธียม เป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ต้องการพลังงานสูง เช่น กล้องดิจิทัล

แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้

แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ เป็นแบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น

  • แบตเตอรี่กรดตะกั่ว เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในรถยนต์ มีราคาถูก แต่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
  • แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Ni-MH) มีความจุสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่มีปัญหาเรื่องความจำ
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีความหนาแน่นของพลังงานสูง น้ำหนักเบา ชาร์จไฟเร็ว และมีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อป
  • แบตเตอรี่โซเดียมซัลเฟอร์ มีความจุสูงมาก ราคาถูก และมีความปลอดภัยสูง แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องอุณหภูมิในการทำงาน จึงยังไม่เป็นที่นิยมใช้ในอุปกรณ์พกพา
เกร็ดความรู้ : 

ปัญหาด้านความจำ หรือ Memory Effect เกิดขึ้นในกรณีที่เมื่อก่อนหากชาร์จแบตเตอรี่ไม่เต็ม หรือปล่อยให้แบตเตอรี่หมดบ่อย ๆ แบตเตอรี่จะจำสภาพนั้นไว้ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่พบกรณีนี้แล้ว

เช็กสัญญาณเตือน ! แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ

เมื่อแบตเตอรี่เสื่อมสภาพลง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของอุปกรณ์ และอาจเกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้น การสังเกตสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าแบตเตอรี่เสื่อมสภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ได้ทันท่วงที ก่อนจะเกิดปัญหารุนแรง โดยมีสัญญาณเตือน ดังนี้

  • ใช้งานได้น้อยลง ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ โดยมีตัวอย่างของการใช้งานแบตเตอรี่ได้น้อยลง เช่น
    • อุปกรณ์ใช้งานได้ไม่นานเท่าเดิม แม้จะชาร์จจนเต็ม
    • ต้องชาร์จแบตเตอรี่บ่อยขึ้นกว่าปกติ
    • เปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ลดลงเร็วผิดปกติ โดยเฉพาะในช่วง 20-0%
    • อุปกรณ์ดับกะทันหันทั้งที่ยังแสดงว่ามีแบตเตอรี่เหลืออยู่
  • เครื่องร้อนผิดปกติ เนื่องจากแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อจ่ายพลังงาน ทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นกว่าปกติ โดยอุปกรณ์อาจร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วแม้ใช้งานเพียงเล็กน้อย รวมถึงอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้เครื่องทำงานช้าลง หรือค้างบ่อยขึ้น
  • ตัวแบตเตอรี่โป่งพอง โดยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เสื่อมสภาพอาจเกิดการขยายตัว หรือโป่งพองได้ ซึ่งเป็นอันตรายและอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ ซึ่งการพองตัวของแบตเตอรี่ อาจทำให้ฝาหลังของอุปกรณ์เปิดออกมาเอง หรือไม่สามารถปิดสนิทได้

รับซื้อขายแร่ รีไซเคิลแบตเตอรี่ เพื่อทางออกที่ยั่งยืน

แบตเตอรี่เก่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ?

เมื่อแบตเตอรี่หมดอายุลง หลายคนมักนำไปฝังใต้ดิน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา แท้จริงแล้วทางเลือกที่ดีที่สุด คือการนำแบตเตอรี่ไปทิ้งในจุดที่รับทิ้งแบตเตอรี่ให้ถูกต้อง โดยเริ่มจากแยกแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ที่ใช้งานก่อน จากนั้นใส่ถุงมัดปิด เพื่อไม่ให้เกิดการลัดวงจรและติดป้ายให้ชัดเจนว่าเป็นขยะมีพิษ แล้วจึงนำไปทิ้งตามจุดที่รับทิ้งต่าง ๆ เพื่อนำเข้าสู่การรีไซเคิล หรือการกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป แต่ยังมีอีกทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นคือการนำแบตเตอรี่ไปขาย !

การขายแบตเตอรี่เก่า ทางออกสู่การกำจัดอย่างยั่งยืน

นอกจากการนำแบตเตอรี่เก่าไปขายหรือรีไซเคิล จะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังสามารถนำไปขายต่อเพื่อสร้างรายได้เสริม ทำให้หลายคนอาจเกิดคำถามตามมาว่า “แบตเตอรี่เก่าขายได้เท่าไหร่ ? แบตเตอรี่เก่ากิโลละกี่บาท ?” ซึ่งราคาของแบตเตอรี่เก่าอาจไม่ได้คำนวณจากกิโลกรัมเพียงอย่างเดียว แต่อาจพิจารณาร่วมจากหลายปัจจัย ดังนี้

ประเภทของแบตเตอรี่

โดยแบตเตอรี่แต่ละชนิดจะมีราคาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และความจุของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ มักจะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียมจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่า

สภาพของแบตเตอรี่

สภาพของแบตเตอรี่มีผลต่อราคาอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าแบตเตอรี่ที่ยังใช้งานได้ดี หรือแบตเตอรี่ที่ชำรุดน้อย จะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ชำรุดเสียหาย อีกทั้งแบตเตอรี่ที่มีความจุเยอะ หรือขนาดใหญ่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ มักมีราคารับซื้อสูงกว่าแบตเตอรี่ขนาดเล็ก จึงควรเก็บรักษาแบตเตอรี่เก่าในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ราคารับซื้อที่ดี

สถานที่ขาย

ราคาของแบตเตอรี่เก่าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ เช่น ร้านรับซื้อของเก่า ร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือศูนย์รีไซเคิลที่อาจให้ราคาที่ดีกว่า โดยเฉพาะสำหรับแบตเตอรี่ประเภทที่รีไซเคิลได้ง่าย ซึ่งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้รับซื้อมีใบอนุญาตถูกต้องและมีวิธีการกำจัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มีแบตเตอรี่เก่าอย่าเพิ่งทิ้ง ! เลือกใช้บริการจาก HRT Recycling ผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการที่หลากหลาย ด้วยประสบการณ์การรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์และแร่ ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ในราคารับซื้อที่ครอบคลุม โดยทำการรับซื้อขายแร่ที่จำเป็นมากมาย รวมถึงรับซื้อขายลิเธียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุหลักที่ใช้ในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ ทั้งยังมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด บริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ และโซลูชันการจัดหาแร่ที่ยอดเยี่ยม ด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่เก่าของคุณจะได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมที่สุด

แหล่งอ้างอิง

  1. Everything You Need to Know about Batteries. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.entec.or.th/knowledge-everything-you-need-to-know-about-batteries/

อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง ร้ายแรงแค่ไหน

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ถึงต้องแยกทิ้ง ?

บทความนี้จะมาเฉลยคำตอบ พร้อมแนะนำว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ควรทิ้งที่ไหน และจัดการอย่างไร โดยเฉพาะในยุคนี้ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ แน่นอนว่าถ้าไม่มีวิธีจัดการที่ถูกต้อง สิ่งนี้ย่อมกลายเป็นปัญหาในระยะยาว ติดตามได้เลย

อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรรู้

  • ตะกั่ว (Lead) : พบได้ในแบตเตอรี่ จอภาพ CRT และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การสัมผัสตะกั่วในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบย่อยอาหาร รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมในที่สุด
  • ปรอท (Mercury) : อีกหนึ่งสารพิษอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่พบได้มากที่สุด โดยเฉพาะในหลอดฟลูออเรสเซนต์และแบตเตอรี่ปุ่ม การได้รับปรอทในปริมาณสูงอาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการชา อ่อนแรง และอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย หรือกระทั่งเสียชีวิตได้
  • แคดเมียม (Cadmium) : เป็นโลหะหนักที่มักถูกใช้ในการผลิตแบตเตอรี่แบบ Ni-Cd และชิ้นส่วนพลาสติก การสัมผัสแคดเมียมเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดโรคไต โรคกระดูกพรุน และโรคมะเร็งปอดได้
  • โครเมียม (Chromium) : โดยส่วนใหญ่แล้วมาจากเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ถือก็เป็นอีกหนึ่งสารพิษอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง และระบบหายใจ หากได้รับในปริมาณมากเกินไป
  • พลาสติกชนิดหมายเลข 3 หรือ PVC : พลาสติกชนิดหมายเลข 3 หรือ PVC ที่ใช้หุ้มฉนวนสายไฟในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อถูกเผาไหม้จะปลดปล่อยสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และส่งผลเสียต่อระบบฮอร์โมนในร่างกาย
  • สารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardants) : อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้มีความเชื่อมโยงกับมะเร็ง ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และความบกพร่องทางพัฒนาการในเด็ก

เห็นได้ว่าอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนคิด สารพิษเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราทั้งสิ้น ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

บริการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญ

วิธีการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  • แยกประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ : วิธีแรกที่ช่วยจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การแยกประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะทั่วไป เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มักมีส่วนประกอบที่เป็นสารพิษหรือวัสดุที่เป็นอันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม หากทิ้งปะปนไปกับขยะประเภทอื่น ๆ อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษลงสู่สิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหานี้ ควรมีการแยกประเภทและเก็บรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไว้ต่างหาก
  • ห้ามทุบหรือถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ด้วยตนเอง : นอกจากการแยกประเภทแล้ว สิ่งที่ควรระวังอีกอย่างคือ ห้ามทุบหรือถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้สารพิษจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แพร่กระจายออกมาเป็นอันตรายได้
  • ตรวจสอบว่าผู้ผลิตมีบริการรับคืนซากอุปกรณ์เพื่อนำไปรีไซเคิลหรือไม่ : ถ้าไม่รู้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ควรทิ้งที่ไหนดี ขั้นแรกให้ตรวจสอบกับผู้ผลิตอุปกรณ์ก่อนว่ามีบริการรับคืนซากหรือรับกำจัดของเสียหลังหมดอายุการใช้งานหรือไม่ เพราะบริษัทผู้ผลิตหลายแห่งมีนโยบายรับคืนซากอุปกรณ์เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี
  • ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นหรือบริษัทรับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ : ถ้าไม่พบข้อมูลการรับคืนจากผู้ผลิต ให้ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นหรือสอบถามข้อมูลจากผู้ให้บริการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง โดยส่วนใหญ่จะมีบริการรับกำจัดโดยเฉพาะ แต่ต้องแน่ใจว่าบริษัทดังกล่าวมีกระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ใช่การทิ้งหรือเผาในที่โล่งแจ้ง ซึ่งจะยิ่งทำให้อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์แพร่กระจายสู่ระบบนิเวศ

อยากกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ให้ HRT Recycling เป็นผู้ช่วย

เปลี่ยนเรื่องยากของผู้ประกอบการในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นเรื่องง่าย เพียงใช้บริการ HRT Recycling ผู้นำด้านบริการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงรีไซเคิลอย่างถูกต้องในประเทศไทย เรารับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์มามากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

4 วิธีทำลายข้อมูลดิจิทัลแบบถาวร หมดกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหล

ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยข้อมูลอันมีค่ามหาศาล หลายองค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายในการปกป้องข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งไม่ใช่แค่การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลระหว่างใช้งานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีวิธีทำลายข้อมูลอย่างปลอดภัยเมื่อไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไปด้วย

ในบทความนี้จะมาบอก 4 วิธีทำลายข้อมูลดิจิทัลแบบถาวร หมดกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหลแม้เลิกใช้งานแล้ว ไปดูกันเลย !

กดปุ่ม delete วิธีลบข้อมูลดิจิทัล

วิธีทำลายข้อมูลที่ถูกต้อง มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?

การทำลายข้อมูลอย่างถูกวิธีมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะช่วยป้องกันความเสี่ยงข้อมูลรั่ว ลดความเสียหายจากการเสียค่าปรับ และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กร โดยมี 3 เหตุผลหลักที่องค์กรควรให้ความสำคัญกับวิธีการทำลายข้อมูลที่ถูกต้อง

  1. ป้องกันการละเมิดข้อมูล : ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลทางการค้า ล้วนเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ การลบข้อมูลอย่างถูกวิธีจะช่วยลดความเสี่ยงในการรั่วไหลของข้อมูลอาจส่งผลเสียต่อองค์กรอย่างร้ายแรง เช่น เสียชื่อเสียง หรือเสียฐานลูกค้า
  2. ปฏิบัติตามกฎหมาย : พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) คือกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์การรับทราบและยินยอมการเก็บข้อมูลส่วนตัว สิทธิ์ในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว สิทธิ์คัดค้าน ในการเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้ รวมถึงสิทธิ์ขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัวได้
  3. ปกป้องสิ่งแวดล้อม : การกำจัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้งานแล้วอย่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การทำลายข้อมูลอย่างถูกวิธีจะช่วยให้สามารถนำวัสดุจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปรีไซเคิล ลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้

ซอฟต์แวร์ลบข้อมูลดิจิทัล

4 วิธีลบข้อมูลดิจิทัลสำหรับองค์กร

ข้อมูลภายในองค์กรที่อาจจะเป็นความลับ หรือข้อมูลทางการค้าที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ จะต้องมีการทำลายข้อมูลดิจิทัล หรือลบข้อมูลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วอย่างถาวร ด้วยวิธีทำลายข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีหลัก ๆ ดังนี้

1. การทำลายข้อมูลแบบกายภาพ (Shredding)

วิธีลบข้อมูลแบบถาวร โดยการบดทำลายอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Shredding) ทั้งกระดาษและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดรฟ์ ซีดี ดีวีดี ด้วยเครื่องย่อย เครื่องบด หรือเครื่องสลายตัว จนมีขนาดเล็กหรือละเอียดพอที่จะไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก

การบดทำลายข้อมูลแบบกายภาพ เหมาะสำหรับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน มีความสำคัญสูง หรือต้องการความมั่นใจสูงสุดว่าข้อมูลถูกทำลายอย่างถาวร เหมาะสำหรับสื่อจัดเก็บข้อมูลทุกประเภท

2. การใช้ซอฟต์แวร์ทำลายข้อมูล (Wiping)

การใช้เทคโนโลยีในรูปแบบซอฟต์แวร์เฉพาะทางทำลายข้อมูล โดยการใช้ข้อมูลเขียนทับลงไปในข้อมูลเดิม ในทุกส่วนของข้อมูลที่เราต้องการล้างในฮาร์ดไดรฟ์หลายรอบ (Wiping) ในรูปแบบข้อมูลที่สุ่มหรือที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จนทำให้ไม่สามารถกู้ข้อมูลต้นฉบับกลับคืนมาได้ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการละเมิดข้อมูล การฉ้อโกงตัวตน หรือการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และช่วยป้องกันการกู้ข้อมูลกลับคืน

การล้างข้อมูลโดยใช้เทคนิคพิเศษของซอฟต์แวร์ เป็นวิธีการที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถใช้ล้างข้อมูลในหลาย ๆ อุปกรณ์พร้อมกันได้ เหมาะสำหรับสื่อจัดเก็บข้อมูลประเภทฮาร์ดดิสก์

3. การทำลายข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็ก (Degaussing)

วิธีทำลายข้อมูลดิจิทัลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง กระบวนการนี้ใช้สนามแม่เหล็กแรงสูง เข้าทำลายข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ (Degaussing) โดยไม่ต้องสัมผัสกับตัวฮาร์ดดิสก์โดยตรง

การทำลายข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็ก ทำให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลถูกทำลายอย่างสิ้นซาก และเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ โดยไม่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับการลบข้อมูลอย่างถาวรในอุปกรณ์หน่วยความจำที่ใช้สื่อแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ เทปคาสเซ็ต

4. บริการทำลายสื่อบันทึกข้อมูล

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่อยากยุ่งยากในการหาวิธีทำลายข้อมูลดิจิทัล ขอแนะนำมาใช้บริการรับทำลายสื่อบันทึกข้อมูล กับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ มีเครื่องมือที่ทันสมัย และมีกระบวนการที่ปลอดภัย เป็นวิธีที่ดีที่สุด สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลขยะดิจิทัลจะถูกลบถาวร และไม่มีทางกู้กลับมาได้ เนื่องจากแต่ละบริษัทจะมีนโยบายรักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด

การทำลายหรือกำจัดข้อมูลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย มีความสำคัญต่อองค์กรทุกประเภท โดยเฉพาะองค์กรที่มีข้อมูลละเอียดอ่อนและมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งหากรั่วไหลออกไปอาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่ร้ายแรงได้ หากสนใจบริการรับทำลายข้อมูลอย่างปลอดภัย ต้องที่ HRT Recycling ผู้เชี่ยวชาญในการรีไซเคิลโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ได้รับการพิสูจน์แล้วในบริการทำลายสื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทีมของเราจะไปรับอุปกรณ์เก่าจากบ้านหรือที่ทำงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งอุปกรณ์มาที่โรงงานของเราเพื่อทำลายข้อมูลได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. 3 วิธีที่องค์กรควรเลือกใช้ในการทำลายข้อมูลอย่างปลอดภัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/organizations-secure-data-destruction
  2. สรุป PDPA คืออะไร ฉบับเข้าใจง่าย พร้อมแนะแนว. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://pdpa.pro/blogs/in-summary-what-is-pdpa

แหล่งอ้างอิง

  1. 3 วิธีที่องค์กรควรเลือกใช้ในการทำลายข้อมูลอย่างปลอดภัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/organizations-secure-data-destruction
  2. สรุป PDPA คืออะไร ฉบับเข้าใจง่าย พร้อมแนะแนว. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://pdpa.pro/blogs/in-summary-what-is-pdpa

ตัวอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ 4 วิธีกำจัดที่ถูกต้อง

ผู้ชายกำลังถือกล่องขยะอิเล็กทรอนิกส์

ยิ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเท่านั้น แต่ครั้นอุปกรณ์เหล่านี้เสื่อมสภาพหรือใช้งานไม่ได้อีกต่อไป ก็จะกลายเป็น “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “E-Waste” ที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง

ในบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น พร้อมบอกวิธีกำจัดขยะประเภทนี้ให้ถูกต้อง หากไม่แน่ใจว่าคุณทิ้งขยะถูกวิธีอยู่หรือเปล่า ไปดูกันเลย !

ขยะอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร ?

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste (Electronic Waste) หรือที่เรียกกันว่า WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ ชำรุด เสียหาย หรือไม่ใช้งานแล้ว ซึ่งซากอุปกรณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะถูกทิ้งเป็นขยะ หรือส่งต่อไปยังร้านรับซื้อของเก่าที่จะได้นำไปคัดแยกชิ้นส่วน และนำไปกำจัดต่อไป

ตัวอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์

  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากครัวเรือน (Household E-Waste) : ขยะที่เกิดขึ้นจากการใช้งานในชีวิตประจำวันที่ตกรุ่น ล้าสมัย หรือชำรุดเสียหายจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ
  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากภาคอุตสาหกรรม (Industrial E-Waste) : ขยะที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตภายในโรงงาน โดยมีองค์ประกอบของสารเคมี และเศษซากเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ควบคุม
  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (Import Waste) : ขยะที่ได้รับการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เช่น สมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

ขยะอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท จำเป็นต้องใช้วิธีการกำจัดที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ทำไมขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงอันตราย ?

รู้หรือไม่ ขยะอิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชิ้นมีส่วนประกอบของสารอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และมีสารเคมีอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ดังนี้

มีสารปนเปื้อน

ขยะอิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด มีสารพิษปนเปื้อนอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่วที่ทำลายระบบประสาท สารปรอทที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง สมอง และไขสันหลัง และแคดเมียมที่มีพิษเฉียบพลัน ทำให้ปอดอักเสบรุนแรง หากสารเหล่านี้ถูกปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ และเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชได้

ทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน

การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยทิ้งลงหลุมและฝังกลบ เป็นวิธีกำจัดที่ผิด และอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นการทิ้งโดยไม่ผ่านกระบวนการจัดการที่ถูกต้อง ทำให้สารพิษที่อยู่ในขยะละลายลงสู่ดินและน้ำ เข้าไปปนเปื้อนแหล่งน้ำดื่ม และส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ รวมถึงยังเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อนอีกด้วย

ทรัพยากรสูญเปล่า

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่น ทองคำ เงิน โลหะมีค่า หรือพลาสติก ซึ่งล้วนเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด หากมีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปรีไซเคิล จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดมลพิษจากกระบวนการผลิตได้

ขยะอิเล็กทรอนิกส์

4 วิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในอุปกรณ์หนึ่งชิ้นก็มีส่วนประกอบของสารอันตรายหลายอย่าง เช่น โลหะหนัก หรือสารเคมี ดังนั้น เมื่อไม่ใช้งานแล้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็ควรจะมีวิธีกำจัดที่ถูกต้อง โดยมีคำแนะนำดังนี้

  1. การบริจาค : องค์กรการกุศลหลายแห่ง มีเปิดรับบริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังใช้งานได้ เพื่อนำไปซ่อมแซม ก่อนแจกจ่ายให้ผู้ด้อยโอกาส หรือนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เช่น โครงการของทาง กทม. มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิสวนแก้ว มูลนิธิบ้านนกขมิ้น
  2. ขายให้บริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ : ปัจจุบันมีบริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่ง ซึ่งจะนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปแยกชิ้นส่วน และนำกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกวิธี เป็นการช่วยลดปริมาณขยะ และสร้างรายได้
  3. ส่งให้โรงงานรับรีไซเคิล : โรงงานรับรีไซเคิลมีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสม สำหรับการแยกชิ้นส่วน รีไซเคิล และกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  4. ทิ้งที่จุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ : หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีการจัดตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเป็นขยะอันตรายไปทิ้ง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยคัดแยกและส่งต่อไปยังโรงงานรับรีไซเคิลหรือโรงงานกำจัดอย่างถูกต้อง

จะเห็นได้ว่า เราไม่ควรทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์รวมกับขยะทั่วไป เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีจึงเป็นความรับผิดชอบของทุกคน เริ่มต้นได้แล้ววันนี้ ด้วยการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่คุณไม่ใช้ หรือส่งต่อให้โรงงานรับรีไซเคิล แต่หากยังไม่รู้ว่าจะส่งไปที่ไหนดี ส่งเข้ามาที่ HRT Recycling บริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่พร้อมดูแลการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของโลกเรา

แหล่งอ้างอิง

  1. ชี้พิกัด ที่ทิ้ง/บริจาค คอมเก่า มือถือเก่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ E-Waste ทิ้งที่ไหนปลอดภัย ไม่เกิดมลพิษ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://droidsans.com/how-to-recycle-e-waste/
  2. E-waste : ขยะอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร เทคโนโลยีเปลี่ยน สร้างปริมาณขยะพิษ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2724981
  3. อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/42/iid/24501

อยากขายทองแดงเหลือใช้จากโรงงานต้องรู้อะไรบ้าง ?

โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักจะมีเศษทองแดงที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเศษสายไฟ ท่อทองแดง หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งหลายโรงงานอาจมองว่าเป็นเศษขยะที่ไร้ค่า จนกำจัดทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทว่าจริง ๆ แล้ว ทองแดงเหล่านี้สามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่โรงงานไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาเป็นคู่มือแนะนำการขายทองแดงสำหรับผู้ประกอบการ อธิบายแบบรอบด้าน ติดตามได้เลย

การขายทองแดงในรูปแบบเส้นลวด

ความต้องการทองแดงในตลาด

ปัจจุบัน ความต้องการทองแดงในตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี และการขยายตัวของสังคมเมือง ที่มีการสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ มากขึ้น รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งระบบประปา ระบบไฟฟ้า ที่ล้วนแต่ต้องใช้ทองแดงเป็นวัสดุสำคัญ

นอกจากนี้ เทรนด์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่าง พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ก็ทำให้ความต้องการทองแดงในการผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้นด้วย

โดยความต้องการทองแดงจากหลากหลายเหตุผลข้างต้น ส่งผลให้ทองแดงราคาพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทองแดงราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 250-350 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาอาจแตกต่างกันไปตามแหล่งรับซื้อทองแดง รวมถึงประเภทของทองแดง เช่น ทองแดงใหญ่ปอกสวยใหม่, ทองแดงเล็กปอกสวยใส, ทองแดงชุบขาว เป็นต้น

ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนนำทองแดงไปขาย

เมื่อมองเห็นโอกาสทางรายได้จากการขายทองแดงที่ไม่ใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากขายให้ได้ราคาดี ก็ควรมีขั้นตอนเตรียมทองแดงไปขายที่ถูกต้อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับซื้อ ดังต่อไปนี้

  1. การรวบรวมและแยกแยะทองแดงจากขยะอุตสาหกรรมอื่น ๆ : ขั้นตอนแรกในการเตรียมตัวขายทองแดง คือการรวบรวมและคัดแยกทองแดง จากของเสียประเภทอื่นจากกระบวนการผลิตในโรงงานหรือแหล่งอื่น ๆ โดยอาจต้องอาศัยเครื่องมือหรือแรงงานคนในการคัดแยก เพื่อให้ได้ทองแดงที่สามารถนำไปขายต่อยังผู้รับซื้อได้
  2. ทำความสะอาดและลดขนาดชิ้นส่วนทองแดง : เมื่อรวบรวมทองแดงได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำความสะอาด กำจัดสิ่งปนเปื้อน และลดขนาดชิ้นทองแดงให้มีขนาดเล็กลง เพื่อความสะดวกในการจัดการและขนส่ง
  3. ขายให้แก่ตัวแทนรับซื้อ หรือบริษัทรีไซเคิลโลหะ : หลังจากเตรียมชิ้นส่วนทองแดงเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำไปขายให้แก่ตัวแทนรับซื้อทองแดงหรือผู้ประกอบการในธุรกิจรีไซเคิลโลหะ ที่จะนำไปทำการหลอมละลายและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป

ข้อดีของการนำทองแดงที่ไม่ใช้แล้วไปขาย

    • สร้างรายได้เสริมให้แก่ธุรกิจ : การขายทองแดงที่ไม่ได้ใช้แล้ว นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างรายได้เสริมที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ โดยในปัจจุบันทองแดงมีมูลค่าสูง และสามารถขายได้ในราคาที่ดี ด้วยเหตุนี้ การรวบรวมทองแดงที่ไม่ใช้แล้วและนำไปขายจึงเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มรายได้
    • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : การนำทองแดงกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดการขุดเจาะและทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถผลิตทองแดงได้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น การขายทองแดงเพื่อนำไปรีไซเคิลจึงเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโลก
    • ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ : การเก็บทองแดงที่ไม่ใช้แล้วไว้ที่โรงงานนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ยังสิ้นเปลืองพื้นที่การจัดเก็บอีกด้วย ดังนั้น การนำทองแดงไปขายย่อมช่วยให้สามารถนำพื้นที่นั้นไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้
    • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร : มีการสำรวจมากมายที่ระบุตรงกันว่าผู้บริโภคยุคใหม่มักเลือกอุดหนุนแบรนด์ที่มีความใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ การลดการใช้พลาสติก หรือการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการผลิตสินค้า ดังนั้น การที่ผู้ประกอบการขายทองแดงเพื่อนำไปรีไซเคิลจึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคในยุคนี้

สรุปได้ว่า การขายทองแดงที่ไม่ใช้แล้วนอกจากสามารถสร้างรายได้ที่ดี ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเลือกขายกับตัวแทนที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อให้มั่นใจว่าทองแดงของเราจะถูกรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง ๆ อีกทั้งการตรวจสอบราคาก่อนการขายเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

HRT Recycling รับซื้อทองแดงเพื่อนำไปรีไซเคิลด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้ประกอบการท่านใดกำลังมองหาแหล่งรับซื้อทองแดงที่มุ่งเน้นเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องที่ HRT Recycling บริษัทที่สร้างโซลูชันการรีไซเคิลโลหะที่ไม่ใช่เหล็กอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทีมของเราจะไปรับทองแดงจากโรงงานของคุณ หรือสามารถขนส่งทองแดงมาที่โรงงานของเราด้วยตัวเองก็ได้เช่นกัน !

แหล่งอ้างอิง

  1. How To Sell Your Scrap Metal and Make Some Extra Cash. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://www.popularmechanics.com/science/environment/g169/how-to-sell-scrap-metal-for-money/

ไขข้อสงสัย ! ขยะอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร ทำไมต้องแยกกำจัด ?

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้หมดอายุการใช้งานไป จะกลับกลายเป็นขยะที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรียกว่า “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” บทความนี้จะพาไปรู้จักขยะอิเล็กทรอนิกส์กันให้มากขึ้นว่าคืออะไรและมีอะไรบ้าง รวมถึงพาไปศึกษาความสำคัญของการแยกขยะประเภทนี้กัน

E-Waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร มีอะไรบ้าง

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร ?

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste คือ ซากของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ ใช้งานไม่ได้ หรือไม่ต้องการแล้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วยสารพิษอันตราย เช่น สารตะกั่ว สารปรอท โครเมียม สารหน่วงไฟ ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และหากกำจัดไม่ถูกวิธี สารพิษจะปนเปื้อนลงในดิน น้ำ อากาศ ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 10 ประเภท ตามระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษซากเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) ดังนี้

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ภายในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กภายในครัวเรือน เช่น เตารีด เครื่องดูดฝุ่น หม้อหุงข้าว เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องเป่าผม
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป เครื่องดนตรีไฟฟ้า
  • อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เช่น หลอดไฟประเภทต่างๆ
  • เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สว่านไฟฟ้า เลื่อยไฟฟ้า
  • ของเล่นหรืออุปกรณ์กีฬาที่ใช้ไฟฟ้า
  • อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์
  • เครื่องมือตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น เครื่องตรวจจับควัน เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
  • เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ และตู้ ATM

แหล่งกำเนิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง ?

ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Waste)

เป็นเศษซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ชำรุดเสียหายจนใช้ไม่ได้ หรือล้าสมัยจากโรงงาน ชิ้นส่วนที่เหลือจากการประกอบสินค้า รวมถึงบรรจุภัณฑ์จากวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ โดยมีตัวอย่างของ E-Waste จากโรงงาน ได้แก่

  • แผงวงจรพิมพ์
  • หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
  • แบตเตอรี่
  • สายไฟ
  • เคสพลาสติก

ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากครัวเรือน (Household Waste)

เกิดขึ้นเมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานในบ้านทั่วไป มีความชำรุด เสียหาย หรือเป็นอุปกรณ์ตัวเก่าที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามต้องการ เช่น

  • โทรศัพท์มือถือ
  • คอมพิวเตอร์
  • โทรทัศน์
  • ตู้เย็น
  • เครื่องปรับอากาศ
  • หลอดไฟ

การนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ

ในสภาวะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างมหาศาล ประเทศไทยเองก็กำลังประสบปัญหานี้เช่นกัน โดยเฉพาะ E-Waste จากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วมักส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีอนุสัญญาบาเชล (Basel Convention) ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน รวมถึงการกำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้า ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2563 แต่ก็ยังคงมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ปะปนเล็ดลอดเข้ามา ด้วยอาจเพราะยังไม่มีระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง E-Waste ที่นำเข้ามาเหล่านี้มักถูกนำไปแยกชิ้นส่วน หรือรีไซเคิล โดยใช้กรรมวิธีที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งในถังขยะ มีอะไรบ้าง

ความสำคัญของการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์

ลดมลพิษ

ดังที่กล่าวไปในข้างต้นว่า E-Waste เป็นขยะที่เต็มไปด้วยสารพิษอันตรายที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งหากกำจัดไม่ถูกวิธี ก็มักถูกฝังกลบ ทิ้งลงแม่น้ำ ซึ่งจะส่งผลให้สารอันตรายซึมลงสู่ดินและน้ำ จนเกิดการปนเปื้อนและส่งผลต่อระบบนิเวศ รวมถึงการนำไปเผา ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง การแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงช่วยในการนำไปรีไซเคิล หรือกำจัดอย่างถูกวิธี ลดการเผาไหม้และการปนเปื้อนของสารอันตราย

รักษาสิ่งแวดล้อม

ยังมี E-Waste จำนวนมากประกอบด้วยวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลได้ เช่น โลหะ พลาสติก แก้ว การแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงจะช่วยให้สามารถนำวัสดุเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยลดมลพิษจากกระบวนการผลิต เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ

การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ป่าไม้ การรีไซเคิลจะช่วยลดความต้องการทรัพยากรธรรมชาติใหม่ จึงช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หนึ่งในกุญแจสำคัญเพื่อการบรรลุสู่เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงได้รู้จักขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste กันมากขึ้นแล้วว่าคืออะไร มีอะไรบ้าง ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร หากใครเริ่มสนใจและต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องสิ่งแวดล้อมจากมลพิษและอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่า สามารถมาเปลี่ยนการรีไซเคิลให้เป็นกำไรได้กับ HRT Recycling  บริษัทที่พร้อมดูแลการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก และซื้อขายแร่ เพื่ออนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเงินที่ยั่งยืน

แหล่งอ้างอิง  

  1. ขยะอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://library.parliament.go.th/sites/default/files/assets/files/works/academic%20office/books/pdf/NALT-work-academic-2559-nicha.pdf
  2. ปัญหาการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/payhakarnaekhakhyacaktangpraeths
  3. แสดงรายละเอียด สินค้าที่มีมาตรการ นำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน ขยะอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://www.dft.go.th/th-th/DFT-Service/Data-Service-Information/ProductMeasure-Import-Export/Detail-ProductMeasure-Import-Export/ArticleId/16128/16128
en_USEnglish