5 นวัตกรรมเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อโลกยั่งยืน

ขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-waste กำลังเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องการแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน อุปกรณ์ที่หมดอายุการใช้งานไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ล้วนมีสารเคมีอันตรายและโลหะหนักที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง การทิ้งขยะเหล่านี้ลงในหลุมฝังกลบซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมสามารถนำไปสู่การปนเปื้อนในดินและน้ำ ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศ ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์และภาคอุตสาหกรรมจึงได้พัฒนา ‘นวัตกรรมเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์’ ที่มุ่งเน้นการรีไซเคิลและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่เพียงเป็นแนวทางแก้ปัญหาขยะล้นโลก แต่ยังเป็นก้าวสำคัญสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มีความยั่งยืน

โครงการนวัตกรรมเกี่ยวกับขยะคือการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

1. การรีไซเคิลโลหะหายากด้วยเทคโนโลยีไฮโดรเมทัลลูร์จี (Hydrometallurgical Recycling)

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ประกอบด้วยโลหะมีค่าและหายากมากมาย โดยเฉพาะธาตุในกลุ่ม Rare Earth Elements (REEs) ที่จำเป็นต่อการผลิตแบตเตอรี่ แม่เหล็ก และจอแสดงผล ทว่า การทำเหมืองเพื่อสกัดโลหะเหล่านี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล ทั้งการทำลายถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปนเปื้อนแหล่งน้ำ

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีการคิดค้น ‘เทคโนโลยีไฮโดรเมทัลลูร์จี’ เพื่อมาแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเป็นวิธีการสกัดโลหะที่ปฏิวัติวงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะใช้วิธีการหลอมด้วยความร้อนสูงแบบดั้งเดิม (Pyrometallurgy) ซึ่งใช้พลังงานมหาศาลและปล่อยมลพิษ ไฮโดรเมทัลลูร์จีใช้สารละลายเคมีที่เฉพาะเจาะจงในการสกัดโลหะจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่อุณหภูมิต่ำกว่ามาก ลดการปล่อยมลพิษและช่วยให้สามารถสกัดโลหะหายากกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. AI และหุ่นยนต์ช่วยแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์

การคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนเนื่องจากมีวัสดุต่าง ๆ ผสมกัน แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์กำลังปฏิวัติขั้นตอนนี้ โดยนำมาใช้เพื่อตรวจจับและจำแนกชิ้นส่วนของขยะได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ระบบคัดแยกอัตโนมัติที่พัฒนาโดย AMP Robotics ใช้ AI วิเคราะห์และแยกวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยลดแรงงานมนุษย์และเพิ่มความแม่นยำในการรีไซเคิลอย่างมีนัยสำคัญ

3. การออกแบบเพื่อการรีไซเคิล (Design for Recycling)

อีกหนึ่งแนวทางแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นโลก คือการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันหลายบริษัทเริ่มหันมาใช้แนวคิด โมดูลาร์ดีไซน์ (Modular Design) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสียหายแทนที่จะต้องทิ้งทั้งเครื่อง รวมถึงการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น ชิปคอมพิวเตอร์ที่ทำจากพลาสติกชีวภาพซึ่งสามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ

นอกจากนั้น ในปี 2023 สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมาย ‘Right to Repair’ ที่บังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ซ่อมแซมได้ง่ายและต้องจัดหาชิ้นส่วนทดแทนเป็นเวลาอย่างน้อย 7 ปีหลังจากผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด นโยบายนี้กำลังผลักดันให้บริษัทต่าง ๆ หันมาใช้แนวคิดการออกแบบเพื่อการรีไซเคิลมากขึ้น

4. แบตเตอรี่ที่รีไซเคิลได้ 100%

แบตเตอรี่ เป็นองค์ประกอบสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ และเป็นส่วนที่ยากที่สุดในการรีไซเคิล เนื่องจากมีสารเคมีอันตราย โครงสร้างซับซ้อน และมีความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ อย่างไรก็ตาม มีโครงการนวัตกรรมเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่มุ่งเน้นให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

โครงการดังกล่าวดำเนินการโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย MIT โดยพวกเขาได้พัฒนาแบตเตอรี่แบบใหม่ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% โดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ซัลเฟอร์และโซเดียม ซึ่งช่วยลดการพึ่งพาแร่ธาตุที่มีจำกัดในธรรมชาติ

โครงการนวัตกรรมเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้านแบตเตอรี่

5. ระบบซื้อคืนและรีไซเคิลโดยผู้ผลิต (Take-back Programs)

หลายบริษัทเริ่มตระหนักถึงการมีส่วนร่วมเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาขยะล้นโลก จึงได้ออกนโยบายรับซื้อคืนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่า เช่น Apple Trade In และ Dell Recycling Program ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้านำอุปกรณ์เก่ามาส่งคืนเพื่อนำไปรีไซเคิลหรือปรับปรุงให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ โครงการเหล่านี้ช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคอย่างยั่งยืนมากขึ้น

ถึงแม้หลายโครงการนวัตกรรมเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์จะยังเป็นเรื่องไกลตัว และต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อยอดเพื่อนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต ทว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการหรือองค์กรธุรกิจก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย ๆ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เสริมอีกด้วย เพียงแค่เลือกใช้บริการ HRT Recycling เราพร้อมให้บริการด้วยมาตรฐานระดับสากล ด้วยกระบวนการรีไซเคิลที่ครบวงจร สามารถมั่นใจได้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นจะได้รับการกำจัดอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง
1. Hydrometallurgical recycling technologies for NMC Li-ion battery cathodes: current industrial practice and new R&D trends†. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 จาก https://pubs.rsc.org/en/content/articlehtml/2023/su/d3su00142c.
2. Design for Recycling Guidelines. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 จาก https://recyclass.eu/recyclability/design-for-recycling-guidelines/

Shredder Machine คืออะไร ? เปิดวิธีทำลายข้อมูลถาวร ปลอดภัยเปิดวิธีทำลายข้อมูลถาวร

การกำจัดข้อมูลที่ไม่ต้องการอย่างปลอดภัย เป็นสิ่งที่องค์กรและบุคคลทั่วไปให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากหากการทำลายข้อมูลไม่สมบูรณ์อาจทำให้ข้อมูลสำคัญที่ลบไปถูกกู้คืนกลับมาโดยผู้ไม่หวังดี นำไปสู่ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการละเมิดข้อมูล ดังนั้น การมองหาวิธีทำลายฮาร์ดดิสก์ไม่ให้กู้คืนได้จึงเป็นขั้นตอนที่จะช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การใช้ Shredder Machine

Shredder Machine คือเครื่องบดทำลายเอกสาร แผ่นซีดี ฮาร์ดดิสก์

Shredder Machine คืออะไร ?

Shredder Machine หรือเครื่องบดทำลาย คืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อบดทำลายวัสดุหลากหลายประเภท โดยข้อมูลที่ถูกทำลายด้วย Shredder Machine จะถูกบดจนไม่สามารถกู้คืนได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่สำคัญจะไม่รั่วไหล เช่น

  • เอกสารสำคัญ อย่างข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลลูกค้า หรือสัญญาทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
  • สื่อเก็บข้อมูลแบบแผ่น เช่น แผ่นซีดีและดีวีดีที่บันทึกไฟล์งาน หรือฐานข้อมูล ซึ่งควรได้รับการทำลายอย่างถูกต้อง เพราะถึงแม้จะลบข้อมูลในระบบไปแล้ว แต่ก็อาจกู้คืนได้
  • ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เนื่องจากฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถกู้คืนข้อมูลได้แม้ว่าจะลบไฟล์ไปแล้ว การใช้ Shredder Machine ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ถูกบดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ทำให้ข้อมูลไม่สามารถกู้คืนได้

การใช้งาน Shredder Machine ในอุตสาหกรรม

Shredder Machine เป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถช่วยทำลายข้อมูลที่ไม่ต้องการอย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูล เพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม โดยมักนิยมนำมาใช้งานในอุตสาหกรรม ดังนี้

องค์กรด้านการเงิน

องค์กรด้านการเงินและธนาคารมีข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบัญชีของลูกค้า ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อและการลงทุน ซึ่งหากรั่วไหลอาจส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร ทำให้ลูกค้าสูญเสียความมั่นใจ การใช้ Shredder Machine ในภาคการเงินและธนาคารจะช่วยให้สามารถทำลายเอกสารและสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความสำคัญได้อย่างปลอดภัย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

ภาครัฐและหน่วยงานความมั่นคง

หน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ มักมีข้อมูลที่เป็นความลับ ซึ่งรวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยแห่งชาติ ข้อมูลทางการทหาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐ การรั่วไหลของข้อมูลเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น การใช้ Shredder Machine จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ถูกทำลายจะไม่สามารถกู้คืนได้ ป้องกันไม่ให้ข้อมูลตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี

องค์กรขนาดใหญ่

ในภาคธุรกิจ ข้อมูลของลูกค้า คู่ค้า และแผนงานเชิงกลยุทธ์ถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง หากข้อมูลเหล่านี้รั่วไหล อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจ ทำให้สูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กร Shredder Machine จึงนิยมนำมาใช้ในองค์กรขนาดใหญ่เพื่อทำลายเอกสารและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่ไม่ต้องการอีกต่อไป โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความลับทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่กำหนดให้บริษัทต้องมีมาตรการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัยและทำลายข้อมูลที่ไม่จำเป็น
การเลือกวิธีทำลายฮาร์ดดิสก์ไม่ให้กู้คืนได้

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกวิธีทำลายฮาร์ดดิสก์ไม่ให้กู้คืนได้

นอกจากการใช้ Shredder Machine ยังมีวิธีอื่น เช่น การลบข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์เฉพาะ (Data Wiping Software) หรือการใช้สนามแม่เหล็ก (Degaussing) ซึ่งก่อนเลือกกำจัดข้อมูลด้วยวิธีใดนั้น ควรพิจารณาเปรียบเทียบจากปัจจัยดังนี้

ความปลอดภัยของข้อมูล

ระดับความปลอดภัยในการทำลายข้อมูลเป็นปัจจัยหลักที่ควรพิจารณา หากข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลลูกค้า หรือเอกสารลับทางธุรกิจ ควรเลือกใช้วิธีที่จะสามารถรับรองได้ว่าไม่มีโอกาสกู้คืนข้อมูลได้อีก

  • การใช้ Shredder Machine เป็นวิธีทำลายฮาร์ดดิสก์ไม่ให้กู้คืนได้ ซึ่งเหมาะสำหรับข้อมูลที่ต้องการทำลายถาวร เพราะเครื่องจะบดทำลายฮาร์ดดิสก์ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จนไม่สามารถกู้คืนได้
  • การใช้สนามแม่เหล็ก (Degaussing) เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทำลายข้อมูล แต่ยังมีความเสี่ยงที่อาจมีข้อมูลหลงเหลือ หากอุปกรณ์ไม่ได้รับการทำลายทางกายภาพ
  • การใช้ซอฟต์แวร์ลบข้อมูล (Data Wiping Software) เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ยังมีความเสี่ยงหากข้อมูลถูกเขียนทับไม่สมบูรณ์

ค่าใช้จ่ายและทรัพยากร

การทำลายฮาร์ดดิสก์แต่ละวิธีมีต้นทุนที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายและทรัพยากรที่ต้องใช้ ดังนี้

  • การใช้ Shredder Machine อาจมีต้นทุนสูงกว่าในแง่ของเครื่องจักรและกระบวนการดำเนินงาน แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่ต้องทำลายข้อมูลจำนวนมากเป็นประจำ
  • การใช้สนามแม่เหล็ก (Degaussing) มีต้นทุนสูง เพราะต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ หลังจากลบข้อมูลแล้ว ฮาร์ดดิสก์จะไม่สามารถใช้งานต่อและนำไปรีไซเคิลได้
  • การใช้ซอฟต์แวร์ลบข้อมูล (Data Wiping Software) มีต้นทุนต่ำกว่า เนื่องจากสามารถใช้ซอฟต์แวร์ฟรี หรือเสียค่าใช้จ่ายเล็กน้อย แต่ต้องใช้เวลานานกว่าการทำลายทางกายภาพ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในยุคที่การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) กลายเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจ การเลือกวิธีทำลายฮาร์ดดิสก์ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

  • การใช้ Shredder Machine ช่วยให้สามารถแยกชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์และนำเศษวัสดุบางส่วนไปรีไซเคิลได้ เช่น อะลูมิเนียม และทองแดงจากวงจรไฟฟ้า ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • การใช้สนามแม่เหล็ก (Degaussing) ทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถใช้งานได้อีก จึงต้องกำจัดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม
  • การใช้ซอฟต์แวร์ลบข้อมูล (Data Wiping Software) เป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุด เพราะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

การทำลายฮาร์ดดิสก์ไม่ให้กู้คืนได้เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรและบุคคลทั่วไปต้องให้ความใส่ใจ หากต้องการเสริมความมั่นใจในการกำจัดฮาร์ดดิสก์ ที่ HRT Recycling พร้อมให้บริการรับทำลายฮาร์ดดิสก์และบริการทำลายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ ด้วยกระบวนการที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกลบทิ้งหมดจด หมดกังวลเรื่องข้อมูลหลุด และข้อมูลจะถูกทำลายอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง
1. What is a shredder?. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 จาก https://www.linkedin.com/pulse/what-shredder-how-choose-use-recycling-enerpart-china

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นโลกเกิดจากอะไร และต้องแก้ยังไง ?

สำหรับชีวิตยุคดิจิทัล ปฏิเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตวอตช์ รวมถึงอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของเรา แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้หมดอายุการใช้งาน ก็จะไม่ได้หายไปจากโลก ทว่ากลับกลายเป็น ‘ขยะอิเล็กทรอนิกส์’ (Electronic Waste หรือ E-Waste) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ตามรายงานจาก Global E-Waste Monitor 2024 ระบุว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2 ล้านตัน และคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจพุ่งสูงถึง 75 ล้านตันต่อปี การจัดการขยะประเภทนี้ยังเป็นปัญหา เนื่องจากเพียง 17.4% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้รับการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ส่วนที่เหลือถูกทิ้งในหลุมฝังกลบ หรือถูกส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพื่อการรีไซเคิลแบบผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้คนอย่างมหาศาล

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแก้ไขได้โดยการฝังกลบ

สาเหตุของปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

  1. อัตราการเปลี่ยนอุปกรณ์สูง – สาเหตุหลักของปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นโลกเกิดจากการที่วงจรชีวิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สั้นลง เนื่องจากเทคโนโลยีพัฒนาเร็ว ผู้บริโภคเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่บ่อยขึ้น เช่น โทรศัพท์มือถือมีอายุเฉลี่ยเพียง 2-3 ปีก่อนที่ผู้ใช้จะเปลี่ยนไปใช้รุ่นใหม่
  2. การออกแบบที่ไม่เอื้อต่อการรีไซเคิล – หลายผลิตภัณฑ์ถูกออกแบบให้ยากต่อการถอดแยกชิ้นส่วนหรือซ่อมแซม ทำให้การรีไซเคิลทำได้ยากขึ้น
  3. การขาดโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ – หลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ไม่มีระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพียงพอ
  4. การส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศกำลังพัฒนา – ประเทศที่พัฒนาแล้วมักส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศที่มีระบบการกำกับดูแลที่หละหลวม เช่น แอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่ผลกระทบจากชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งด้านปัญหามลพิษและสุขภาพของแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลผิดกฎหมาย

ผลกระทบของขยะอิเล็กทรอนิกส์

  1. มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม – ขยะอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสารเคมีอันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารหน่วงการติดไฟ (BFRs) ที่สามารถปนเปื้อนดิน น้ำ และอากาศ หากถูกทิ้งอย่างไม่ถูกต้อง
  2. อันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ – การเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในที่โล่งเพื่อดึงโลหะมีค่าออกมา เช่น ทองและทองแดง ก่อให้เกิดควันพิษที่นำไปสู่ผลกระทบจากชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ เช่นโรคระบบทางเดินหายใจ มะเร็ง และความผิดปกติของระบบประสาท
  3. การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ – อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีโลหะมีค่าหลายชนิด เช่น ทองคำ เงิน และแพลทินัม หากไม่มีการรีไซเคิลที่เหมาะสม ทรัพยากรเหล่านี้จะสูญเปล่า ทำให้ต้องมีการขุดเหมืองเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นโลกส่งผลต่อการทำเหมือง

แนวทางแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน

  1. ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) – การเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (ผลิต-ใช้-ทิ้ง) ไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นกุญแจสำคัญในการลดผลกระทบจากชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน แนวคิดนี้มุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงวงจรชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบให้ซ่อมแซมและอัปเกรดได้ง่าย ไปจนถึงการรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่
  2. ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ (EPR – Extended Producer Responsibility) – บังคับให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตนเองตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต ไปจนถึงกระบวนการกำจัดหลังหมดอายุการใช้งาน
  3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ – รัฐบาลควรลงทุนในศูนย์รีไซเคิลที่ทันสมัย และสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ
  4. ส่งเสริมการซ่อมแซมและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Right to Repair Movement) – การเคลื่อนไหว “สิทธิในการซ่อม” กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นทั่วโลก แนวคิดนี้สนับสนุนให้ผู้บริโภคสามารถซ่อมแซมอุปกรณ์ของตนได้อย่างง่ายดายและราคาเหมาะสม แทนที่จะต้องซื้อใหม่เมื่อเกิดปัญหาเพียงเล็กน้อย
  5. สร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน – ประชาชนควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงผลกระทบจากปัญหาอย่างรอบด้าน โดยเมื่อมีความรู้ก็ย่อมสามารถตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้งานอุปกรณ์ให้นานขึ้น รวมถึงกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี
  6. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ – การพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการคัดแยกวัสดุ การสกัดโลหะมีค่าจากแผงวงจรโดยไม่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษ ช่วยส่งเสริมให้การรีไซเคิลมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นความท้าทายระดับโลกที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ ไปจนถึงองค์กรสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพคือกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน

ผู้ประกอบการธุรกิจหรือองค์กรไหนอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปกป้องโลกจากปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เสริมอีกด้วย แนะนำ HRT Recycling เราพร้อมให้บริการด้วยมาตรฐานระดับสากล ด้วยกระบวนการรีไซเคิลที่ครบวงจร สามารถมั่นใจได้ว่าขยะ E-Waste ทุกชิ้นจะได้รับการกำจัดอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง
1. The Global E-waste Monitor 2024. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 จาก https://ewastemonitor.info/the-global-e-waste-monitor-2024/

วิธีล้างข้อมูลคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ก ปกป้องข้อมูลก่อนทิ้ง !

การล้างข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อถึงเวลาที่ต้องการทิ้งหรือขายคอมพ์ที่ไม่ใช้แล้วให้ผู้อื่น เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลสำคัญไม่ให้รั่วไหล ซึ่งการกำจัดข้อมูลอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและปกป้องความเป็นส่วนตัวอย่างรอบด้าน

วิธีล้างข้อมูลโน้ตบุ๊กและคอมพ์ก่อนนำไปขาย

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนล้างข้อมูล

ก่อนเริ่มการล้างเครื่องโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อป้องกันการสูญเสียข้อมูลที่จำเป็น หรือการล้างข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

สำรองข้อมูลสำคัญ

การสำรองข้อมูล เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก่อนล้างข้อมูล เพื่อป้องกันการสูญเสียไฟล์ หรือเอกสารที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างง่ายดายหากต้องการใช้งานในอนาคต โดยสามารถสำรองข้อมูลได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
ใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก โดยคัดลอกไฟล์สำคัญ เช่น เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ และไฟล์งานไปยังฮาร์ดไดรฟ์ หรือ USB แฟลชไดรฟ์
ใช้บริการคลาวด์ ซึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่ การอัปโหลดไฟล์ไปยังบริการคลาวด์ เช่น Google Drive, Dropbox หรือ OneDrive เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากปลอดภัยและประหยัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในอุปกรณ์

ตรวจสอบและจดบันทึกโปรแกรมที่ใช้งานบ่อย

การจดบันทึกโปรแกรมที่ใช้งานบ่อย เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ช่วยให้กระบวนการติดตั้งเครื่องใหม่หลังจากล้างข้อมูลง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ใช้งานโปรแกรมเฉพาะด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ออกแบบ, โปรแกรมบัญชี หรือโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ติดตั้งใหม่ได้ง่ายหลังจากล้างเครื่อง

วิธีการล้างข้อมูลโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์

การล้างข้อมูลสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความปลอดภัยและการใช้งานอุปกรณ์หลังจากการล้างข้อมูล

1. การรีเซตระบบปฏิบัติการ

การรีเซตเครื่องกลับไปยังสถานะเริ่มต้นจากโรงงาน เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการล้างคอมพ์ก่อนขาย หรือส่งมอบคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่น หลังการรีเซต ข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบและระบบจะถูกตั้งค่าใหม่ แต่อาจมีข้อมูลบางส่วนหลงเหลือ จึงไม่เหมาะสำหรับข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยระดับสูง ซึ่งขั้นตอนการรีเซตระบบปฏิบัติการ มีดังนี้

สำหรับ Windows ให้ไปที่ Settings > Update & Security > Recovery แล้วเลือก Reset this PC
สำหรับ Mac ให้ใช้ Disk Utility เพื่อลบข้อมูลและติดตั้งระบบใหม่ผ่าน macOS Utilities

การรีเซตเครื่อง เพื่อล้างคอมก่อนขาย

2. การลบข้อมูลบนฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive Formatting)

การฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ เป็นวิธีการลบข้อมูลทั่วไปที่ช่วยคืนค่าอุปกรณ์ให้เหมือนใหม่ วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายและไม่ซับซ้อน โดยมีตัวเลือกการฟอร์แมตที่แนะนำคือ Full Format ซึ่งจะลบข้อมูลทั้งหมดและตรวจสอบความสมบูรณ์ของดิสก์ แต่ข้อมูลอาจกู้คืนได้โดยซอฟต์แวร์กู้ข้อมูล จึงไม่เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญหรือความลับสูง

3. การลบข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์เฉพาะ (Data Wiping Software)

การใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะ เช่น DBAN หรือ Blancco เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ให้ความปลอดภัยสูง เนื่องจากซอฟต์แวร์เหล่านี้จะเขียนทับข้อมูลเดิมหลายครั้งจนไม่สามารถกู้คืนได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลการเงิน หรือข้อมูลลูกค้า

ข้อควรระวังหลังการล้างข้อมูล

หลังจากลบข้อมูล ควรตรวจสอบว่าไม่มีไฟล์หรือข้อมูลส่วนตัวหลงเหลืออยู่ โดยสามารถใช้ซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบข้อมูลที่ถูกลบเพื่อเสริมความมั่นใจ แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าอุปกรณ์ไม่สามารถใช้งานต่อได้อีก ควรเลือกส่งไปยังศูนย์รับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือบริจาคให้แก่องค์กรที่ต้องการใช้อุปกรณ์เก่า

การล้างคอมพ์ก่อนขายเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยป้องกันข้อมูลรั่วไหล เพื่อป้องกันปัญหาความปลอดภัยในอนาคต และสำหรับผู้ต้องการกำจัดคอมพิวเตอร์ทิ้ง หากกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และมองหาวิธีกำจัดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หรือสนใจบริการรับซื้อแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ HRT Recycling พร้อมให้บริการด้วยมาตรฐานระดับสากล ด้วยกระบวนการรีไซเคิลที่ครบวงจร โดยสามารถมั่นใจได้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นจะได้รับการกำจัดอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง

ป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล โดยเข้าใจความเสี่ยงและแนวทางแก้ไข

ในยุคที่ทุกอย่างถูกเชื่อมโยงกันผ่านระบบดิจิทัล การปกป้องข้อมูลขององค์กรกลายเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ เพราะหากข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลทางการเงิน หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ ถูกเปิดเผยหรือรั่วไหลออกไป อาจส่งผลกระทบที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชื่อเสียง การสูญเสียลูกค้า หรือการเผชิญบทลงโทษทางกฎหมาย ดังนั้น บทความนี้ จึงจะพาไปสำรวจสาเหตุหลักของการรั่วไหลของข้อมูลองค์กร รวมถึงแนวทางที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น

การรั่วไหลของข้อมูลองค์กรอาจเกิดได้จากความเสี่ยงหลายด้าน

สาเหตุของการรั่วไหลของข้อมูลองค์กร

1. พนักงานที่ไม่มีความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

ปัญหานี้พบได้บ่อยในองค์กรที่ไม่มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พนักงานอาจไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลดิจิทัล และอาจทำให้เกิดการรั่วไหลโดยไม่ตั้งใจ เช่น การใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย การเปิดอีเมลหลอกลวง หรือการแชร์ข้อมูลผ่านช่องทางที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งการขาดความรู้พื้นฐานเหล่านี้อาจนำไปสู่การสูญเสียข้อมูลสำคัญได้อย่างง่ายดาย

2. การโจมตีจากแฮกเกอร์ (Hacking)

ปัจจุบัน แฮกเกอร์ได้พัฒนาวิธีการที่ซับซ้อนและแยบยลมากขึ้นในการเจาะระบบและขโมยข้อมูล โดยเฉพาะในองค์กรที่ไม่ได้อัปเดตระบบรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการโจมตีอาจมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น มัลแวร์ แรนซัมแวร์ หรือการหลอกลวงทางจิตวิทยา ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว

3. ระบบที่ล้าสมัย

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการอัปเดต เป็นช่องโหว่สำคัญที่อาจถูกใช้เป็นเส้นทางในการเข้าถึงข้อมูล เพราะระบบที่ล้าสมัยมักไม่มีการอุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้กลายเป็นเป้าหมายง่ายสำหรับแฮกเกอร์

4. การใช้ระบบคลาวด์โดยไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม

การใช้ระบบคลาวด์โดยขาดการตั้งค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม อาจทำให้ข้อมูลองค์กรเสี่ยงต่อการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะการตั้งค่าที่ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจเปิดช่องให้ข้อมูลสำคัญรั่วไหลสู่สาธารณะได้โดยไม่รู้ตัว

5. พฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวังของบุคคลภายใน

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของพนักงาน เช่น การแชร์รหัสผ่าน การเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในอุปกรณ์ส่วนตัวโดยไม่มีการป้องกัน หรือการทิ้งเอกสารที่มีข้อมูลสำคัญโดยไม่ทำลายอย่างถูกวิธี ล้วนเป็นความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลได้

6. การจัดการอุปกรณ์ส่วนตัวและอุปกรณ์ขององค์กรอย่างไม่เหมาะสม

การจัดการอุปกรณ์ส่วนตัวและอุปกรณ์ขององค์กรอย่างไม่เหมาะสม เป็นความเสี่ยงที่สำคัญในยุคการทำงานแบบไฮบริด การใช้อุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อเข้าถึงข้อมูลองค์กรโดยไม่มีการควบคุมที่เหมาะสม การเก็บไฟล์งานไว้ในอุปกรณ์ส่วนตัวโดยไม่มีการเข้ารหัส หรือการทิ้งอุปกรณ์เก่าขององค์กรโดยไม่ได้ลบข้อมูลอย่างถูกวิธี ล้วนเป็นช่องทางที่อาจทำให้ข้อมูลสำคัญขององค์กรรั่วไหลได้อย่างง่ายดาย

วิธีป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในองค์กร

วิธีป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

1. เพิ่มการอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน

การสร้างความตระหนักรู้และวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพื้นฐานสำคัญ องค์กรควรจัดการอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ วิธีการป้องกัน และแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

2. ติดตั้งระบบป้องกันและตรวจจับภัยคุกคาม

การลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็น ตั้งแต่ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ระบบไฟร์วอลล์ ไปจนถึงระบบตรวจจับและป้องกันการบุกรุก โดยต้องมีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอเพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

3. ควบคุมการเข้าถึงข้อมูล

ควรสร้างระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่เข้มงวดและชัดเจน โดยให้สิทธิ์เฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องใช้งานจริงเท่านั้น พร้อมทั้งมีระบบติดตามและตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูลองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ตรวจสอบและอัปเดตระบบอย่างสม่ำเสมอ

องค์กรควรมีแผนการตรวจสอบและอัปเดตระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่

5. ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

การทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะช่วยให้องค์กรได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์และทันสมัย ทั้งการประเมินความเสี่ยง การวางแผนรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉิน และการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร

6. ตรวจสอบพฤติกรรมของบุคคลภายใน

การติดตามและตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานระบบของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้องค์กรสามารถตรวจจับความผิดปกติได้แต่เนิ่น ๆ เช่น การพยายามเข้าถึงข้อมูลนอกเหนือจากสิทธิ์ที่ได้รับ หรือการดาวน์โหลดข้อมูลในปริมาณที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการรั่วไหลของข้อมูลองค์กร

7. ใช้บริการทำลายอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วโดยผู้เชี่ยวชาญ

การทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน ต้องดำเนินการอย่างรัดกุมและเป็นระบบ การเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกทำลายอย่างสมบูรณ์ พร้อมกับการจัดการอุปกรณ์อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้อง

มองหาวิธีทำลายข้อมูลองค์กรที่ปลอดภัยและรักษ์โลก ? HRT Recycling พร้อมให้บริการ

ถ้าองค์กรของคุณกำลังมองหาวิธีป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับและลดความเสี่ยงจากการรั่วไหล HRT Recycling ขอเสนอบริการรับทำลายข้อมูล สื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์และทรัพย์สินอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย เรามีความเชี่ยวชาญในกระบวนการทำลายข้อมูลที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกลบทิ้งหมดจด อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง

วิธีทำลายข้อมูลองค์กรให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล

“ข้อมูล” ถือว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดสำหรับองค์กร การปกป้องข้อมูลจากการรั่วไหลจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรทุกแห่งต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะข้อมูลใน Hard Disk ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลใหญ่ โดยการเลือกวิธีทำลายข้อมูลองค์กรที่ไม่ใช้แล้วอย่างถูกต้องและปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดจากการโจรกรรมข้อมูล อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีทำลายข้อมูล Hard Disk

การเลือกวิธีทำลายข้อมูลองค์กรอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูล การทำลายข้อมูล Hard Disk อย่างปลอดภัยจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบในระยะยาว โดยมีวิธี ดังนี้

1. การลบข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์ (Data Wiping)

การลบข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์ เป็นวิธีที่ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยซอฟต์แวร์ซึ่งออกแบบมาเป็นการเฉพาะ จะทำการลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ด้วยการเขียนทับข้อมูลซ้ำหลายรอบ โดยถือเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่และสามารถนำฮาร์ดดิสก์กลับมาใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดขยะ แต่หากลบไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ อาจเกิดความเสี่ยงที่ข้อมูลบางส่วนจะถูกกู้คืนได้

2. การบดทำลายฮาร์ดดิสก์ (Shredding)

การบดทำลายฮาร์ดดิสก์ เป็นวิธีทำลายข้อมูล Hard Disk ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยมาก เนื่องจากฮาร์ดดิสก์จะถูกนำเข้าเครื่องบดจนแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างสมบูรณ์ จนไม่เหลือชิ้นส่วนที่สามารถกู้คืนได้ แต่การจะบดทำลายฮาร์ดดิสก์จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะที่มีราคาสูงและต้องใช้บริการจากบริษัทรับทำลายฮาร์ดดิสก์ที่มีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งเศษซากที่เหลือจากการบดต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3. การใช้สนามแม่เหล็ก (Degaussing)

การใช้สนามแม่เหล็ก หรือ Degaussing เป็นวิธีทำลายข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้อุปกรณ์เฉพาะที่สร้างสนามแม่เหล็กความเข้มสูง ทำลายข้อมูลในจานแม่เหล็ก (Platter) ที่เป็นส่วนเก็บข้อมูลหลักของฮาร์ดดิสก์ โดยสามารถทำลายข้อมูลจำนวนมากพร้อมกันได้ในเวลาอันสั้น เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่สามารถใช้งานต่อได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่หมดอายุการใช้งาน เนื่องจากการใช้สนามแม่เหล็กทำให้จานแม่เหล็กเสียหายโดยสิ้นเชิง อีกทั้งอุปกรณ์สำหรับ Degaussing มีราคาสูงและต้องใช้บริการทำลายสื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ

วิธีที่ไม่ควรใช้ทำลาย Hard Disk

ในขณะที่มีวิธีการทำลายฮาร์ดดิสก์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีบางวิธีที่ไม่ควรใช้เนื่องจากอาจทำให้ข้อมูลหลงเหลือ หรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติ ได้แก่

1. การทุบด้วยค้อน

การทุบด้วยค้อน เป็นวิธีที่หลายคนอาจมองว่าสามารถทำลายฮาร์ดดิสก์ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก ซึ่งวิธีนี้ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหายทางกายภาพเท่านั้น แต่จานแม่เหล็ก (Platter) ภายในฮาร์ดดิสก์อาจยังคงอยู่ในสภาพที่สามารถกู้ข้อมูลได้ อีกทั้งยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการทำลายข้อมูลระดับสากล

2. การเผาด้วยไฟ

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มักเข้าใจผิดว่าสามารถทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้ทั้งหมด เนื่องจากความร้อนสามารถทำลายอุปกรณ์ได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบไป จานแม่เหล็กอาจยังคงอยู่ในสภาพที่สามารถกู้คืนข้อมูลได้ นอกจากนี้ การเผาฮาร์ดดิสก์ยังทำให้เกิดการปลดปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ตะกั่วและสารเคลือบผิวแม่เหล็ก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3. การทิ้งในถังขยะทั่วไป

เป็นวิธีที่ง่าย แต่กลับสร้างความเสี่ยงทั้งต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลหากตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี ซึ่งสามารถนำอุปกรณ์ไปกู้ข้อมูลและนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ในบางประเทศ การทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในถังขยะทั่วไปถือเป็นการละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เลยทีเดียว

สร้างความมั่นใจให้องค์กร ด้วยการทำลายข้อมูลที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล

การปกป้องข้อมูลจากการรั่วไหล ถือเป็นภารกิจสำคัญสำหรับทุกองค์กร โดยเฉพาะข้อมูลใน Hard Disk หากต้องการสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลจะถูกทำลายอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ที่ HRT Recycling พร้อมให้บริการรับทำลายฮาร์ดดิสก์และบริการทำลายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ ด้วยกระบวนการที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกลบทิ้งหมดจด ไม่รั่วไหล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง

  • การทำลายข้อมูลบนอุปกรณ์ IT อย่างไรให้ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2568 จาก https://www.thaipr.net/it/3151684

แบตรถยนต์ไฮบริดขายได้ไหม และก่อนขายต้องเตรียมตัวยังไง ?

หรับเจ้าของรถยนต์ Hybrid การดูแลรักษาระบบต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรถประเภทนี้ โดยหลายคนอาจสงสัยว่า เมื่อแบตเตอรี่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งานแล้ว แบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid ยังสามารถนำไปขายได้ไหม รีไซเคิลได้หรือไม่ และควรจัดการอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราจึงจะมาช่วยตอบคำถามทุกข้อเกี่ยวกับแบตเตอรี่ Hybrid พร้อมเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่รถยนต์ EV เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

หลังจากที่ผ่านการใช้งานแล้วแบตรถยนต์ไฮบริดขายได้ไหม

แบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid คืออะไร ?

ก่อนจะไปรู้กันว่าแบตรถยนต์ไฮบริดขายได้ไหม เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบตเตอรี่ประเภทนี้เสียก่อน โดยอธิบายแบบเข้าใจง่าย แบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid คือแหล่งพลังงานสำคัญที่ช่วยให้รถยนต์ประเภท Hybrid สามารถทำงานร่วมกันระหว่าง เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) และ มอเตอร์ไฟฟ้า โดยทั่วไป แบตเตอรี่ Hybrid เป็นชนิดนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel-Metal Hydride: NiMH) หรือลิเธียมไอออน (Lithium-Ion) ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานยาวนานกว่าระบบแบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดา

เมื่อแบตเตอรี่ Hybrid หมดอายุการใช้งาน จะไม่สามารถเก็บพลังงานได้ดีเหมือนเดิม การเสื่อมสภาพนี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการขับขี่และอัตราการประหยัดน้ำมัน จึงเป็นเหตุผลที่ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

แบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid สามารถนำไปขายได้ไหม ?

แบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid ขายได้ไหม ? คำตอบคือ ขายได้จริง !
ถึงแม้แบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานจะไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในรถยนต์อีกต่อไป แต่ยังคงมีมูลค่าในตลาด เนื่องจากแบตเตอรี่ Hybrid ประกอบด้วยวัสดุที่มีค่า เช่น

  • นิกเกิล (Nickel)
  • โคบอลต์ (Cobalt)
  • ลิเธียม (Lithium)

วัสดุเหล่านี้สามารถนำไปรีไซเคิลหรือใช้ซ้ำในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น การผลิตแบตเตอรี่ใหม่หรือเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายยินดีซื้อแบตเตอรี่ Hybrid ที่หมดอายุการใช้งาน โดยเฉพาะบริษัทรีไซเคิลและผู้รับซื้อแบตรถยนต์ Hybrid

ขั้นตอนการขายแบตเตอรี่ Hybrid

  1. ตรวจสอบสถานะของแบตเตอรี่
    ก่อนขาย ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแบตเตอรี่ว่าอยู่ในสภาพแบบไหน เช่น เสื่อมสภาพทั้งก้อนหรือเสียหายเพียงบางส่วน
  2. ค้นหาผู้รับซื้อที่น่าเชื่อถือ
    มีหลายบริษัทที่รับซื้อแบตรถยนต์ Hybrid เช่น โรงงานรีไซเคิล หรือผู้รับซื้อแบตเตอรี่มือสอง การเลือกผู้ซื้อที่มีใบอนุญาตและมาตรฐานในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้การขายปลอดภัยยิ่งขึ้น
  3. ประเมินราคา
    ราคาของแบตเตอรี่ Hybrid ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำกลับมาใช้ได้ เช่น ปริมาณนิกเกิลและลิเธียม รวมถึงสภาพโดยรวมของแบตเตอรี่
  4. ดำเนินการขาย
    เมื่อได้รับข้อเสนอราคาที่เหมาะสม สามารถตกลงซื้อขายและส่งมอบแบตเตอรี่ให้แก่ผู้ซื้อได้ โดยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการออกใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง

แบตเตอรี่ Hybrid มีมูลค่าเท่าไร ?

มูลค่าของแบตเตอรี่ Hybrid ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  • ชนิดของแบตเตอรี่ : แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมักมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์
  • ปริมาณวัสดุที่รีไซเคิลได้ : หากแบตเตอรี่มีวัสดุที่นำกลับมาใช้ได้มาก จะมีราคาสูงกว่า
  • สภาพของแบตเตอรี่ : หากแบตเตอรี่ยังสามารถใช้งานได้บางส่วน ราคาจะสูงกว่าก้อนที่เสียหายทั้งหมด

ในประเทศไทย ราคาซื้อขายแบตเตอรี่ Hybrid ที่หมดอายุจะอยู่ที่ประมาณ 2,000-10,000 บาท หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยข้างต้น โดยราคาเบื้องต้นเป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น

แบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid vs แบตเตอรี่รถยนต์ EV

เนื่องจากเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้งานในรถยนต์เหมือนกัน ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าแบตรถยนต์ไฮบริดขายได้ไหม อีกหนึ่งคำถามที่ตามมาเสมอก็คือแบตรถยนต์ EV ขายได้ไหม ซึ่งเราสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ตามตารางด้านล่างนี้
หัวข้อเปรียบเทียบแบตเตอรี่รถยนต์ Hybridแบตเตอรี่รถยนต์ EV
ประเภทแบตเตอรี่NiMH (Nickel-Metal Hydride) หรือ Li-ionส่วนใหญ่เป็น Li-ion (Lithium-ion)
ขนาดความจุ (Capacity)ความจุน้อยกว่า (<10 kWh)ความจุสูงมาก (20-100 kWh)
น้ำหนักและขนาดน้ำหนักเบากว่า ขนาดเล็กน้ำหนักมากกว่า ขนาดใหญ่
ฟังก์ชันการทำงานใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว
อายุการใช้งาน6-10 ปีขึ้นอยู่กับการใช้งาน8-15 ปีหรือมากกว่า
มูลค่าการขายต่อต่ำกว่าแบตเตอรี่ EV เนื่องจากมีขนาดเล็กและความจุน้อยกว่าสูงกว่าเนื่องจากความจุและวัสดุที่ใช้ในแบตเตอรี่
ความซับซ้อนในการรีไซเคิลกระบวนการรีไซเคิลซับซ้อนน้อยกว่าซับซ้อนกว่าเนื่องจากมีโลหะหายากมากกว่า
ผู้รับซื้อแบตรถยนต์ Hybrid มีมาตรฐานการจัดการที่ถูกต้อง

สรุปแบบชัด ๆ เกี่ยวกับการขายแบตเตอรี่รถ Hybrid

สำหรับใครที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid ที่หมดอายุการใช้งาน แนะนำให้พิจารณาขายกับผู้รับซื้อแบตรถยนต์ Hybrid ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่จะถูกนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือหากไม่ต้องการขาย อาจเลือกนำแบตเตอรี่ไปยังศูนย์บริการหรือโรงงานรีไซเคิลที่ได้รับการรับรอง เพื่อกำจัดอย่างปลอดภัย การขายแบตเตอรี่ Hybrid ไม่เพียงช่วยสร้างรายได้เล็กน้อย แต่ยังมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ดังนั้น คำตอบของคำถาม “แบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid ขายได้ไหม?” คือ ขายได้แน่นอน และยังเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดสำหรับทุกคนอีกด้วย

HRT Recycling ให้บริการรับซื้อแบตรถยนต์ Hybrid และขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ

เมื่อได้ทราบแล้วว่าแบตเตอรี่รถยนต์สามารถนำไปขายเพื่อรีไซเคิลได้ ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อแบตรถยนต์ Hybrid เก่าที่น่าเชื่อถือ มีกระบวนการจัดการอย่างถูกต้องโปร่งใส แนะนำ HRT Recycling บริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในประเทศไทย เรารับซื้อแบตเตอรี่ รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท โดยรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้วมากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโรงงานรับรีไซเคิลที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย ! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง

จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ด้วยโรงงานที่ได้มาตรฐาน

หลายคนอาจเคยสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ที่เลิกใช้แล้วจะถูกนำไปไว้ที่ไหน หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการจัดการอย่างไร ? โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะขยะเหล่านี้มีทั้งวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้และสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ดังนั้น การเลือกโรงงานรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมาตรฐานจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

มือที่กำลังถือขยะและกำลังคิดว่าควรขายขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไหนดี ?

ความสำคัญของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน เช่น โทรศัพท์มือถือเก่า แบตเตอรี่ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นขยะที่หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้

  • สารเคมีปนเปื้อน เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท สามารถรั่วไหลลงสู่ดินและน้ำ
  • อันตรายต่อสุขภาพ การสูดดมไอระเหยจากสารเคมีเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อระบบประสาทและอวัยวะบางส่วน
  • ความเสียหายต่อระบบนิเวศ สัตว์และพืชอาจได้รับผลกระทบจากสารพิษที่สะสมในสิ่งแวดล้อม

ซึ่งหากจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ก็จะสามารถนำวัสดุบางชนิด เช่น โลหะมีค่า พลาสติก แก้ว มารีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด ทำให้ขั้นตอนในการเลือกขายขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไหนดี จึงมีความสำคัญอย่างมาก

วิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยสามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธี ดังนี้

1. การบริจาค

การบริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังพอใช้งานได้ เป็นวิธีที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยสามารถส่งต่ออุปกรณ์ให้แก่หน่วยงาน หรือชุมชนที่ขาดแคลนทรัพยากร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและช่วยลดปริมาณขยะ

2. การคืนผู้ผลิต (Take-Back Programs)

ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทมีนโยบายในการรับคืนอุปกรณ์ที่หมดอายุการใช้งาน เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด อีกทั้งยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ส่งเสริมวงจรการผลิตที่ยั่งยืน

3. การรีไซเคิล (Recycling)

การรีไซเคิลเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น โลหะมีค่า พลาสติก หรือแก้ว จะนำมาแยกและเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่อย่างปลอดภัย ช่วยลดการปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อม

4. การขายให้แก่โรงงานรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์

การขายขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่โรงงานที่มีมาตรฐานไม่เพียงช่วยลดปริมาณขยะ แต่ยังได้รับค่าตอบแทนจากวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ทองแดงในสายไฟ หรือชิ้นส่วนโลหะ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบว่าโรงงานดังกล่าวมีการจัดการขยะอย่างถูกต้องและปลอดภัย

คุณสมบัติที่ควรมองหาในโรงงานรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์

หลายคนอาจยังสงสัยว่าควรเลือกโรงงานรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไหนดีถึงจะมีมาตรฐานในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง จึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติ ดังนี้

1. ใบอนุญาตและการรับรอง

โรงงานที่ดีควรมีใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่าโรงงานได้ผ่านการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม โดยควรมีใบอนุญาตโรงงาน ดังนี้

  • รง. 105 ซึ่งเป็นประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัด แยก หรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎหมายโรงงาน
  • รง. 106 ซึ่งเป็นประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรร

นอกจากนี้ยังอาจมีใบอนุญาต หรือใบประกาศนียบัตรจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรองว่าโรงงานสามารถจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกวิธี ป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท

2. มาตรฐานการจัดการขยะ

โรงงานที่มีมาตรฐานการจัดการขยะที่ได้รับการรับรองระดับสากล จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่นำมาจัดการจะได้รับการรีไซเคิลและกำจัดอย่างปลอดภัย โดยมีตัวอย่างมาตรฐานสากล เช่น

  • ISO 14001 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
  • R2 (Responsible Recycling) มาตรฐานสำหรับการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

3. บริการที่ครบวงจร

โรงงานที่มีบริการครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการรับซื้อจนถึงกระบวนการรีไซเคิล ช่วยเพิ่มความสะดวก ลดเวลาและความยุ่งยากในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยควรเลือกให้ครอบคลุมถึงบริการ ดังนี้

  • การรับซื้อขยะ รองรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และแบตเตอรี่
  • การขนส่ง มีบริการขนส่งขยะจากสถานที่ของลูกค้าไปยังโรงงาน
  • การคัดแยกและรีไซเคิล ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแยกวัสดุ เช่น โลหะมีค่า พลาสติก และแก้ว

4. ความโปร่งใสในการดำเนินงาน

โรงงานควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการจัดการขยะ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับการกำจัด หรือนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี โดยควรมีรายละเอียดกระบวนการรีไซเคิล เช่น การคัดแยกและกำจัดสารพิษ รวมถึงช่องทางการติดต่อสำหรับสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความไว้วางใจในบริการของโรงงาน

HRT Recycling ให้บริการรับซื้อและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ

การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาขยะล้นในระยะยาว สำหรับใครที่ต้องการความสะดวกและบริการที่ครบวงจรในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเริ่มต้นได้ที่ HRT Recycling ที่ให้บริการรับซื้อและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้วมากกว่า 3,000 ตัน พร้อมมีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส ผ่านการคัดแยกและรื้อถอนในขั้นตอนแรก เพื่อแยกส่วนประกอบและนำสารที่เป็นอันตรายออกไปกำจัดอย่างปลอดภัย ป้องกันการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงาน หรือสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย ! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling

แหล่งอ้างอิง

เศษทองแดงคืออะไร ? และวิธีคัดแยกประเภทให้ได้ราคาสูง

ถึงแม้จะไม่ได้มีมูลค่าสูงเหมือนทองคำ แต่ “ทองแดง” เป็นโลหะที่มีความต้องการในตลาดมากที่สุดก็ว่าได้ ด้วยประโยชน์การใช้งานที่หลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือการก่อสร้าง ด้วยเหตุนี้ เศษทองแดงจึงเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีค่าที่สุดในตลาดรีไซเคิล

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 5 ประเภทของเศษทองแดงที่เป็นที่นิยมในท้องตลาด เพราะขายง่าย ได้ราคาดี สามารถนำไปสร้างรายได้จากการรีไซเคิลได้อย่างคุ้มค่า ติดตามเลย

เศษทองแดงประเภทปอกสวย

ทองแดงปอกสวย

ทองแดงประเภทนี้คือ เศษทองแดงที่มีลักษณะเป็นเส้นสายไฟที่ถูกปอกเปลือกออกอย่างสะอาด ไม่มีพลาสติกหรือวัสดุอื่นมาปนเปื้อน มีลักษณะสีแดงสดใสมันวาว เป็นทองแดงที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูง

  • แหล่งที่มา : ส่วนใหญ่มาจากการรื้อถอนอาคาร รวมถึงการเปลี่ยนระบบไฟฟ้า หรือเป็นเศษเหลือจากโรงงานผลิตสายไฟ
  • ความต้องการในตลาด : เป็นเศษทองแดงราคาสูงที่สุด เนื่องจากความบริสุทธิ์ มีคุณภาพที่ดี และพร้อมนำไปหลอมใช้ใหม่ได้ทันที
  • ราคา : ที่ประมาณ 294 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : ทำการปอกทองแดงออกจากสายเคเบิลอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ทองแดงไม่มีสิ่งปนเปื้อน และสามารถม้วนเก็บได้อย่างเป็นระเบียบ

ทองแดงช็อต

เศษทองแดงที่เกิดจากการหลอมทองแดงที่ผ่านการใช้งานในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม มีลักษณะเป็นขดลวดหรือเส้นพันกันแน่น และมีสีออกคล้ำ ๆ ดำ ๆ

  • แหล่งที่มา : โรงงานอุตสาหกรรม อู่ซ่อมรถยนต์ หรือศูนย์ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่
  • ความต้องการในตลาด : มีราคารองลงมาจากทองแดงปอกสวย เนื่องจากอาจมีวัสดุอื่นปนมาบ้าง แต่ยังเป็นที่ต้องการในตลาดรับซื้อทองแดง
  • ราคา : ประมาณ 283 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : แยกเศษทองแดงที่ไม่มีสิ่งเจือปนออก และทำความสะอาดคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรก เพื่อให้ได้ทองแดงที่มีคุณภาพสูงและขายได้ราคาดี

ทองแดงใหญ่

เศษทองแดงเผาที่มีขนาดใหญ่และเป็นแผ่น เช่น แผ่นทองแดงที่ใช้ในงานโครงสร้าง หรือทองแดงจากเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม มีลักษณะหนา แข็งแรง มีสีดำและเศษปนเปื้อน

  • แหล่งที่มา : งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม หรือการรื้อถอนอาคารเก่า
  • ความต้องการในตลาด : มีความต้องการสูงในตลาดรีไซเคิล เนื่องจากความหนาและมีความแข็งแรง ทำให้เหมาะสำหรับการหลอมใหม่เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  • ราคา : ประมาณ 273 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : ตัดแบ่งให้มีขนาดพอเหมาะต่อการขนส่งและจัดเก็บ รวมถึงนำมาทำความสะอาดและแยกเศษปนเปื้อนต่าง ๆ ออกให้หมด

ทองแดงเล็ก

ทองแดงเล็ก คือเศษทองแดงเผาขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา สามารถพบได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เศษสายไฟเล็ก ๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือเศษจากการตัดเจียร

  • แหล่งที่มา : พบในงานช่างที่ต้องตัดหรือดัดทองแดงเพื่อนำไปใช้งาน เช่น ร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้า หรือการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้ทองแดงเป็นส่วนประกอบหลัก
  • ความต้องการในตลาด : อาจไม่เป็นที่ต้องการเท่ากับประเภทอื่น เนื่องจากความบางและปริมาณที่ไม่มากพอ แต่ก็ยังเป็นที่ต้องการในตลาดรีไซเคิลเนื่องจากยังสามารถนำไปหลอมใหม่ได้
  • ราคา : 270 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : คัดแยกตามประเภทและคุณภาพ ทำความสะอาดให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อน และรวบรวมให้ได้ปริมาณมากพอก่อนนำไปขาย

ทองแดงติดเปลือก (ไม่ได้ปอกวัสดุหุ้มออก)

สายไฟหรือเศษทองแดงที่ยังไม่ได้ผ่านการปอกเปลือกหุ้มออก มักมีฉนวนพลาสติกหรือยางหุ้มอยู่

  • แหล่งที่มา : พบได้จากการรื้อถอนอาคาร งานก่อสร้าง หรือการเปลี่ยนระบบไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ผ่านการคัดแยก
  • ความต้องการในตลาด : ราคารับซื้อจะต่ำกว่าทองแดงปอกสวยอย่างมาก เนื่องจากมีน้ำหนักของวัสดุหุ้มรวมอยู่ด้วย แต่ยังเป็นที่ต้องการในตลาดรับซื้อทองแดงเพราะสามารถนำไปแปรรูปต่อได้
  • ราคา : 56 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : แยกประเภทสายไฟตามขนาดและชนิดของฉนวน หากเป็นไปได้ควรปอกเปลือกออกเพื่อเพิ่มมูลค่า แต่หากไม่สามารถทำได้ ควรทำความสะอาดและจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ

*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงระหว่างวัน

รู้แบบนี้แล้วอย่าปล่อยให้เศษทองแดงถูกทิ้งไว้อย่างเปล่าประโยชน์ นำไปขายต่อให้กับผู้รีไซเคิลเพื่อสร้างประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อม และหารายได้เสริมย่อมจะดีกว่า สำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อทองแดงเศษ รวมถึงโลหะต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ มีกระบวนการจัดการอย่างถูกต้องโปร่งใส แนะนำ HRT Recycling ผู้นำด้านการรีไซเคิลโลหะในประเทศไทย มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย พร้อมให้บริการรีไซเคิลโลหะ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย ด้วยแนวปฏิบัติที่ดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับโลหะจากสำนักงานของคุณ หรือส่งอุปกรณ์เก่าที่ต้องการกำจัดมาที่โรงงานของเราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

อัพเดทราคาประจำวัน วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 จาก https://acsrecycle.com/price-lists/อัพเดทราคาประจำวัน-วัน-450/

ก่อนเอาแบตเตอรี่เก่าลิเธียมไปขาย ต้องรู้อะไรบ้าง ?

รู้หรือไม่ แบตเตอรี่เก่าลิเธียมสามารถนำไปขายได้ แถมยังได้เงินไม่น้อยด้วย

สำหรับใครที่สนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก พร้อมทั้งสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง บทความนี้จะมาบอกทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการนำแบตเตอรี่ลิเธียมที่ใช้งานในรถยนต์ไฮบริด และรถ EV ไปขาย ตั้งแต่สัญญาณที่บอกให้รู้ว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตแล้ว ไปจนถึงราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่า ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการที่ใช้รถในการประกอบธุรกิจด้วย อ่านเลย

พนักงานร้านรับซื้อแบตเตอรี่เก่ากำลังนำแบตเตอรี่ลิเธียมเข้าสู่กระบวนการ

ทำไมแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าของรถยนต์ไฟฟ้าถึงมีมูลค่า ?

เหตุผลที่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าและรถไฮบริด ยังคงได้ราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่าที่สูงแม้จะผ่านการใช้งานมาแล้ว มีดังนี้

  1. วัตถุดิบมีค่า: แบตเตอรี่เก่าเหล่านี้ประกอบด้วยโลหะมีค่าหลายชนิด เช่น ลิเธียม โคบอลต์ นิกเกิล และทองแดง ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  2. ความต้องการที่เพิ่มขึ้น: ด้วยการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ความต้องการวัตถุดิบเหล่านี้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  3. การประหยัดทรัพยากร: การรีไซเคิลแบตเตอรี่เก่าช่วยลดการทำเหมืองแร่ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  4. ศักยภาพในการนำไปใช้งานต่อ: แบตเตอรี่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับใช้กับรถยนต์แล้ว อาจยังสามารถนำใช้งานในระบบกักเก็บพลังงานอื่น ๆ ได้

เหตุผลที่ควรนำแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าไปขายให้กับผู้ประกอบการกิจการรีไซเคิล

การนำแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าไปขายให้กับผู้ประกอบการรีไซเคิลมีประโยชน์มากมาย ทั้งต่อตัวผู้ขายเอง รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ดังนี้

  1. รายได้เสริม: แม้จะไม่ใช่เงินก้อนใหญ่ แต่การขายแบตเตอรี่เก่าก็สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับคุณได้
  2. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: การรีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะถูกทิ้งในหลุมฝังกลบ
  3. ป้องกันมลพิษ: แบตเตอรี่ลิเธียมประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย การกำจัดอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
  4. สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน: การรีไซเคิลช่วยให้วัสดุมีค่าถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ลดการพึ่งพาทรัพยากรใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สัญญาณเตือน ว่าควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ลิเธียมได้แล้ว

การรู้จักสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ จะช่วยให้สามารถวางแผนการเปลี่ยนและขายแบตเตอรี่เก่าได้อย่างเหมาะสม โดยมีจุดสังเกตหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  1. ระยะทางวิ่งลดลง: เมื่อประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเธียมเสื่อมลง รถยนต์จะไม่สามารถขับขี่ได้ในระยะทางที่เคยทำได้หลังจากชาร์จแบตเตอรี่
  2. เวลาชาร์จนานขึ้น: แบตเตอรี่ลิเธียมที่เริ่มเสื่อมสภาพจะใช้เวลาชาร์จนานขึ้นกว่าจะเต็ม ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเซลล์ภายในเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพ
  3. อายุการใช้งาน: โดยทั่วไปแบตเตอรี่ลิเธียมในรถยนต์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 8-10 ปี หรือระยะทาง 160,000-200,000 กิโลเมตร
  4. ไฟเตือนบนแผงหน้าปัด: รถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นมีระบบแจ้งเตือนที่บอกผู้ขับขี่ถึงปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่ ถ้าเห็นสัญญาณไฟเตือนเกี่ยวกับแบตเตอรี่ ย่อมเป็นสัญญาณว่าควรตรวจสอบและอาจถึงเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้ และได้รับการยืนยันจากช่างผู้เชี่ยวชาญว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่แล้ว นั่นคือโอกาสที่คุณจะนำแบตเตอรี่เก่าไปขายได้

แบตเตอรี่เก่าลิเธียมพร้อมสำหรับการขาย

ราคาประมาณการแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าในปัจจุบัน

ราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่าประเภทลิเธียม ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาด สภาพ และความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม สามารถให้ตัวเลขประมาณการคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก: ประมาณ 1,000 – 3,000 บาท
  • แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าขนาดกลาง: ประมาณ 3,000 – 7,000 บาท
  • แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่: ประมาณ 7,000 – 15,000 บาท หรือมากกว่า

ราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่าเหล่านี้เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น อาจแตกต่างกันไปตามผู้รับซื้อแบตเตอรี่รถยนต์เก่า หรือร้านรับซื้อแบตเตอรี่เก่าแต่ละเจ้า นอกจากนี้ ขนาด และราคาตลาดของโลหะมีค่าที่เป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ ก็มีผลต่อราคารับซื้อด้วยเช่นกัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการขายแบตเตอรี่เก่า

Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าแบตเตอรี่ยังมีมูลค่าพอที่จะขาย ?

A: แบตเตอรี่ลิเธียมเกือบทุกชิ้นมีมูลค่าในการรีไซเคิล แม้จะเสื่อมสภาพมากแล้วก็ตาม เพราะยังคงมีวัสดุมีค่าอยู่ภายใน

Q: ควรขายแบตเตอรี่เก่าให้กับใคร ?

A: ควรขายให้กับร้านรับซื้อแบตเตอรี่เก่า หรือผู้ประกอบการรีไซเคิลที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกกฎหมาย รวมถึงศูนย์บริการของผู้ผลิตรถยนต์ที่มีโปรแกรมรับซื้อคืน

Q: แบตเตอรี่เก่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ถ้าไม่ได้รีไซเคิล ?

A: แบตเตอรี่ลิเธียมที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องสามารถปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการรีไซเคิลจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับแบตเตอรี่เก่า

Q: สามารถถอดแบตเตอรี่ออกจากรถเองได้หรือไม่ ?

A: ไม่แนะนำ เนื่องจากเป็นอันตรายและอาจทำให้การรับประกันเป็นโมฆะ ดังนั้น ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการในขั้นตอนนี้

HRT Recycling รับซื้อลิเธียมราคายุติธรรม เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างเป็นมิตรกับโลก

เมื่อได้ทราบแล้วว่าแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าสามารถนำไปขายเพื่อรีไซเคิลได้ ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อขายลิเธียมที่น่าเชื่อถือ มีกระบวนการจัดการอย่างถูกต้องโปร่งใส แนะนำ HRT Recycling ผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เรารับซื้อลิเธียม รับซื้อขายแร่หลายชนิด รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท โดยรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้วมากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. Used Lithium-Ion Batteries. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 จาก https://www.epa.gov/recycle/used-lithium-ion-batteries
en_USEnglish