เศษทองแดงคืออะไร ? และวิธีคัดแยกประเภทให้ได้ราคาสูง

ถึงแม้จะไม่ได้มีมูลค่าสูงเหมือนทองคำ แต่ “ทองแดง” เป็นโลหะที่มีความต้องการในตลาดมากที่สุดก็ว่าได้ ด้วยประโยชน์การใช้งานที่หลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือการก่อสร้าง ด้วยเหตุนี้ เศษทองแดงจึงเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีค่าที่สุดในตลาดรีไซเคิล

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 5 ประเภทของเศษทองแดงที่เป็นที่นิยมในท้องตลาด เพราะขายง่าย ได้ราคาดี สามารถนำไปสร้างรายได้จากการรีไซเคิลได้อย่างคุ้มค่า ติดตามเลย

เศษทองแดงประเภทปอกสวย

ทองแดงปอกสวย

ทองแดงประเภทนี้คือ เศษทองแดงที่มีลักษณะเป็นเส้นสายไฟที่ถูกปอกเปลือกออกอย่างสะอาด ไม่มีพลาสติกหรือวัสดุอื่นมาปนเปื้อน มีลักษณะสีแดงสดใสมันวาว เป็นทองแดงที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูง

  • แหล่งที่มา : ส่วนใหญ่มาจากการรื้อถอนอาคาร รวมถึงการเปลี่ยนระบบไฟฟ้า หรือเป็นเศษเหลือจากโรงงานผลิตสายไฟ
  • ความต้องการในตลาด : เป็นเศษทองแดงราคาสูงที่สุด เนื่องจากความบริสุทธิ์ มีคุณภาพที่ดี และพร้อมนำไปหลอมใช้ใหม่ได้ทันที
  • ราคา : ที่ประมาณ 294 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : ทำการปอกทองแดงออกจากสายเคเบิลอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ทองแดงไม่มีสิ่งปนเปื้อน และสามารถม้วนเก็บได้อย่างเป็นระเบียบ

ทองแดงช็อต

เศษทองแดงที่เกิดจากการหลอมทองแดงที่ผ่านการใช้งานในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม มีลักษณะเป็นขดลวดหรือเส้นพันกันแน่น และมีสีออกคล้ำ ๆ ดำ ๆ

  • แหล่งที่มา : โรงงานอุตสาหกรรม อู่ซ่อมรถยนต์ หรือศูนย์ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่
  • ความต้องการในตลาด : มีราคารองลงมาจากทองแดงปอกสวย เนื่องจากอาจมีวัสดุอื่นปนมาบ้าง แต่ยังเป็นที่ต้องการในตลาดรับซื้อทองแดง
  • ราคา : ประมาณ 283 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : แยกเศษทองแดงที่ไม่มีสิ่งเจือปนออก และทำความสะอาดคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรก เพื่อให้ได้ทองแดงที่มีคุณภาพสูงและขายได้ราคาดี

ทองแดงใหญ่

เศษทองแดงเผาที่มีขนาดใหญ่และเป็นแผ่น เช่น แผ่นทองแดงที่ใช้ในงานโครงสร้าง หรือทองแดงจากเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม มีลักษณะหนา แข็งแรง มีสีดำและเศษปนเปื้อน

  • แหล่งที่มา : งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม หรือการรื้อถอนอาคารเก่า
  • ความต้องการในตลาด : มีความต้องการสูงในตลาดรีไซเคิล เนื่องจากความหนาและมีความแข็งแรง ทำให้เหมาะสำหรับการหลอมใหม่เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  • ราคา : ประมาณ 273 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : ตัดแบ่งให้มีขนาดพอเหมาะต่อการขนส่งและจัดเก็บ รวมถึงนำมาทำความสะอาดและแยกเศษปนเปื้อนต่าง ๆ ออกให้หมด

ทองแดงเล็ก

ทองแดงเล็ก คือเศษทองแดงเผาขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา สามารถพบได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เศษสายไฟเล็ก ๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือเศษจากการตัดเจียร

  • แหล่งที่มา : พบในงานช่างที่ต้องตัดหรือดัดทองแดงเพื่อนำไปใช้งาน เช่น ร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้า หรือการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้ทองแดงเป็นส่วนประกอบหลัก
  • ความต้องการในตลาด : อาจไม่เป็นที่ต้องการเท่ากับประเภทอื่น เนื่องจากความบางและปริมาณที่ไม่มากพอ แต่ก็ยังเป็นที่ต้องการในตลาดรีไซเคิลเนื่องจากยังสามารถนำไปหลอมใหม่ได้
  • ราคา : 270 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : คัดแยกตามประเภทและคุณภาพ ทำความสะอาดให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อน และรวบรวมให้ได้ปริมาณมากพอก่อนนำไปขาย

ทองแดงติดเปลือก (ไม่ได้ปอกวัสดุหุ้มออก)

สายไฟหรือเศษทองแดงที่ยังไม่ได้ผ่านการปอกเปลือกหุ้มออก มักมีฉนวนพลาสติกหรือยางหุ้มอยู่

  • แหล่งที่มา : พบได้จากการรื้อถอนอาคาร งานก่อสร้าง หรือการเปลี่ยนระบบไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ผ่านการคัดแยก
  • ความต้องการในตลาด : ราคารับซื้อจะต่ำกว่าทองแดงปอกสวยอย่างมาก เนื่องจากมีน้ำหนักของวัสดุหุ้มรวมอยู่ด้วย แต่ยังเป็นที่ต้องการในตลาดรับซื้อทองแดงเพราะสามารถนำไปแปรรูปต่อได้
  • ราคา : 56 บาท/กิโลกรัม*
  • วิธีเพิ่มมูลค่า : แยกประเภทสายไฟตามขนาดและชนิดของฉนวน หากเป็นไปได้ควรปอกเปลือกออกเพื่อเพิ่มมูลค่า แต่หากไม่สามารถทำได้ ควรทำความสะอาดและจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ

*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงระหว่างวัน

รู้แบบนี้แล้วอย่าปล่อยให้เศษทองแดงถูกทิ้งไว้อย่างเปล่าประโยชน์ นำไปขายต่อให้กับผู้รีไซเคิลเพื่อสร้างประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อม และหารายได้เสริมย่อมจะดีกว่า สำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อทองแดงเศษ รวมถึงโลหะต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ มีกระบวนการจัดการอย่างถูกต้องโปร่งใส แนะนำ HRT Recycling ผู้นำด้านการรีไซเคิลโลหะในประเทศไทย มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย พร้อมให้บริการรีไซเคิลโลหะ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย ด้วยแนวปฏิบัติที่ดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับโลหะจากสำนักงานของคุณ หรือส่งอุปกรณ์เก่าที่ต้องการกำจัดมาที่โรงงานของเราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

อัพเดทราคาประจำวัน วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 จาก https://acsrecycle.com/price-lists/อัพเดทราคาประจำวัน-วัน-450/

ก่อนเอาแบตเตอรี่เก่าลิเธียมไปขาย ต้องรู้อะไรบ้าง ?

รู้หรือไม่ แบตเตอรี่เก่าลิเธียมสามารถนำไปขายได้ แถมยังได้เงินไม่น้อยด้วย

สำหรับใครที่สนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก พร้อมทั้งสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง บทความนี้จะมาบอกทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการนำแบตเตอรี่ลิเธียมที่ใช้งานในรถยนต์ไฮบริด และรถ EV ไปขาย ตั้งแต่สัญญาณที่บอกให้รู้ว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตแล้ว ไปจนถึงราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่า ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการที่ใช้รถในการประกอบธุรกิจด้วย อ่านเลย

พนักงานร้านรับซื้อแบตเตอรี่เก่ากำลังนำแบตเตอรี่ลิเธียมเข้าสู่กระบวนการ

ทำไมแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าของรถยนต์ไฟฟ้าถึงมีมูลค่า ?

เหตุผลที่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าและรถไฮบริด ยังคงได้ราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่าที่สูงแม้จะผ่านการใช้งานมาแล้ว มีดังนี้

  1. วัตถุดิบมีค่า: แบตเตอรี่เก่าเหล่านี้ประกอบด้วยโลหะมีค่าหลายชนิด เช่น ลิเธียม โคบอลต์ นิกเกิล และทองแดง ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  2. ความต้องการที่เพิ่มขึ้น: ด้วยการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ความต้องการวัตถุดิบเหล่านี้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  3. การประหยัดทรัพยากร: การรีไซเคิลแบตเตอรี่เก่าช่วยลดการทำเหมืองแร่ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  4. ศักยภาพในการนำไปใช้งานต่อ: แบตเตอรี่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับใช้กับรถยนต์แล้ว อาจยังสามารถนำใช้งานในระบบกักเก็บพลังงานอื่น ๆ ได้

เหตุผลที่ควรนำแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าไปขายให้กับผู้ประกอบการกิจการรีไซเคิล

การนำแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าไปขายให้กับผู้ประกอบการรีไซเคิลมีประโยชน์มากมาย ทั้งต่อตัวผู้ขายเอง รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ดังนี้

  1. รายได้เสริม: แม้จะไม่ใช่เงินก้อนใหญ่ แต่การขายแบตเตอรี่เก่าก็สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับคุณได้
  2. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: การรีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะถูกทิ้งในหลุมฝังกลบ
  3. ป้องกันมลพิษ: แบตเตอรี่ลิเธียมประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย การกำจัดอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
  4. สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน: การรีไซเคิลช่วยให้วัสดุมีค่าถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ลดการพึ่งพาทรัพยากรใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สัญญาณเตือน ว่าควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ลิเธียมได้แล้ว

การรู้จักสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ จะช่วยให้สามารถวางแผนการเปลี่ยนและขายแบตเตอรี่เก่าได้อย่างเหมาะสม โดยมีจุดสังเกตหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  1. ระยะทางวิ่งลดลง: เมื่อประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเธียมเสื่อมลง รถยนต์จะไม่สามารถขับขี่ได้ในระยะทางที่เคยทำได้หลังจากชาร์จแบตเตอรี่
  2. เวลาชาร์จนานขึ้น: แบตเตอรี่ลิเธียมที่เริ่มเสื่อมสภาพจะใช้เวลาชาร์จนานขึ้นกว่าจะเต็ม ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเซลล์ภายในเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพ
  3. อายุการใช้งาน: โดยทั่วไปแบตเตอรี่ลิเธียมในรถยนต์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 8-10 ปี หรือระยะทาง 160,000-200,000 กิโลเมตร
  4. ไฟเตือนบนแผงหน้าปัด: รถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นมีระบบแจ้งเตือนที่บอกผู้ขับขี่ถึงปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่ ถ้าเห็นสัญญาณไฟเตือนเกี่ยวกับแบตเตอรี่ ย่อมเป็นสัญญาณว่าควรตรวจสอบและอาจถึงเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้ และได้รับการยืนยันจากช่างผู้เชี่ยวชาญว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่แล้ว นั่นคือโอกาสที่คุณจะนำแบตเตอรี่เก่าไปขายได้

แบตเตอรี่เก่าลิเธียมพร้อมสำหรับการขาย

ราคาประมาณการแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าในปัจจุบัน

ราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่าประเภทลิเธียม ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาด สภาพ และความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม สามารถให้ตัวเลขประมาณการคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก: ประมาณ 1,000 – 3,000 บาท
  • แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าขนาดกลาง: ประมาณ 3,000 – 7,000 บาท
  • แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่: ประมาณ 7,000 – 15,000 บาท หรือมากกว่า

ราคารับซื้อแบตเตอรี่เก่าเหล่านี้เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น อาจแตกต่างกันไปตามผู้รับซื้อแบตเตอรี่รถยนต์เก่า หรือร้านรับซื้อแบตเตอรี่เก่าแต่ละเจ้า นอกจากนี้ ขนาด และราคาตลาดของโลหะมีค่าที่เป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ ก็มีผลต่อราคารับซื้อด้วยเช่นกัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการขายแบตเตอรี่เก่า

Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าแบตเตอรี่ยังมีมูลค่าพอที่จะขาย ?

A: แบตเตอรี่ลิเธียมเกือบทุกชิ้นมีมูลค่าในการรีไซเคิล แม้จะเสื่อมสภาพมากแล้วก็ตาม เพราะยังคงมีวัสดุมีค่าอยู่ภายใน

Q: ควรขายแบตเตอรี่เก่าให้กับใคร ?

A: ควรขายให้กับร้านรับซื้อแบตเตอรี่เก่า หรือผู้ประกอบการรีไซเคิลที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกกฎหมาย รวมถึงศูนย์บริการของผู้ผลิตรถยนต์ที่มีโปรแกรมรับซื้อคืน

Q: แบตเตอรี่เก่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ถ้าไม่ได้รีไซเคิล ?

A: แบตเตอรี่ลิเธียมที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องสามารถปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการรีไซเคิลจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับแบตเตอรี่เก่า

Q: สามารถถอดแบตเตอรี่ออกจากรถเองได้หรือไม่ ?

A: ไม่แนะนำ เนื่องจากเป็นอันตรายและอาจทำให้การรับประกันเป็นโมฆะ ดังนั้น ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการในขั้นตอนนี้

HRT Recycling รับซื้อลิเธียมราคายุติธรรม เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างเป็นมิตรกับโลก

เมื่อได้ทราบแล้วว่าแบตเตอรี่ลิเธียมเก่าสามารถนำไปขายเพื่อรีไซเคิลได้ ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อขายลิเธียมที่น่าเชื่อถือ มีกระบวนการจัดการอย่างถูกต้องโปร่งใส แนะนำ HRT Recycling ผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เรารับซื้อลิเธียม รับซื้อขายแร่หลายชนิด รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท โดยรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้วมากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. Used Lithium-Ion Batteries. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 จาก https://www.epa.gov/recycle/used-lithium-ion-batteries

รับซื้อโทรศัพท์เก่า เสีย ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมได้ค่าตอบแทน

รีไซเคิลโทรศัพท์พัง ขายโทรศัพท์เก่าได้ที่ไหน

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของใครหลายคน แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าเมื่อเปลี่ยนเครื่องใหม่ โทรศัพท์เก่าจะไปอยู่ที่ไหน หรือจะสามารถขายโทรศัพท์เก่าได้ที่ไหน ? HRT Recycling รับซื้อโทรศัพท์เก่าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เสีย หรือโทรศัพท์ที่ยังใช้ได้ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่าและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน 

ทำไมต้องรีไซเคิลโทรศัพท์เก่า ?

ในโทรศัพท์มือถือมีวัสดุหลายชนิดที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น ทองคำ เงิน และทองแดง ซึ่งเป็นวัสดุที่มีค่าและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ โดยการรีไซเคิลโทรศัพท์เก่าไม่เพียงแต่ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องสูญเสียไปจากการผลิตวัสดุใหม่อีกด้วย นอกจากนี้โทรศัพท์เก่าหรือเสียที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง อาจก่อให้เกิดปัญหา ดังนี้

  • มลพิษสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารพิษในโทรศัพท์ เช่น ตะกั่ว ปรอท สามารถส่งผลกระทบปนเปื้อนในระบบนิเวศ เช่น ดินและน้ำ ตลอดจนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อคนและสัตว์ 
  • สิ้นเปลืองทรัพยากร ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างจำกัดมาผลิตโทรศัพท์ใหม่มากขึ้น
  • เพิ่มปริมาณขยะ เพราะโทรศัพท์เก่าจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ยากต่อการจัดการและเป็นปัญหาใหญ่ต่อสิ่งแวดล้อม

การนำโทรศัพท์เก่ามารีไซเคิลกับบริษัทที่รับซื้อโทรศัพท์พังอย่าง HRT Recycling จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

รับซื้อโทรศัพท์เก่า โทรศัพท์เสียใช้การไม่ได้

HRT Recycling รับซื้อโทรศัพท์ทุกรูปแบบ

สำหรับใครที่ยังมีคำถามคาใจว่าโทรศัพท์พังขายได้ไหม แบบไหนที่จะรับซื้อ ? ขอตอบว่าที่ HRT Recycling รับซื้อและรับรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือเก่าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ในสภาพใดก็ได้ แม้แต่เครื่องที่ชำรุด เพราะทุกชิ้นมีคุณค่าในการรีไซเคิล โดยมีเหตุผลว่าทำไมต้องเลือก HRT Recycling ได้แก่

  • ประสบการณ์ HRT Recycling เป็นผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในไทยมาตั้งแต่ปี 2562 จึงมั่นใจได้ว่ามีความเชี่ยวชาญและเข้าใจกระบวนการรีไซเคิลอย่างละเอียด
  • การดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน โดยมีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทยอย่างครบถ้วน
  • ความรับผิดชอบ ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นจะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ผ่านมาได้ให้บริการรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลมากกว่า 3,000 ตัน ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 8,640 เมตริกตัน CO2 เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซโดยเฉลี่ยจากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • พันธมิตรระดับโลก HRT Recycling ร่วมมือกับโรงกลั่นขยะอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก เพื่อให้มั่นใจว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ของคุณจะได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี

โดยกระบวนการรีไซเคิลของ HRT Recycling เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม คัดแยก รื้อถอน จนถึงการแปรรูปวัสดุต่างอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ด้วยความใส่ใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำจัดสารอันตราย ไปจนถึงการแยกโลหะมีค่าเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

โทรศัพท์เก่าขายได้เท่าไหร่ ?

มูลค่าของโทรศัพท์เก่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น รุ่นและยี่ห้อของโทรศัพท์ สภาพการใช้งาน และความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ รวมถึงช่วงเวลาและจำนวนการขาย ซึ่งถึงแม้ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง แต่ HRT Recycling พร้อมให้ราคาที่เป็นธรรมและโปร่งใสที่สุด โดยสามารถติดต่อเพื่อสอบถามราคาเบื้องต้น หรือนำมาประเมินได้อย่างสะดวก ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้ได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม

การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือเก่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ขาย โดย HRT Recycling รับซื้อโทรศัพท์เก่าทุกประเภท ตั้งแต่โทรศัพท์ที่ยังใช้งานได้ ไปจนถึงโทรศัพท์เสีย เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมให้คุณได้รับเงินค่าตอบแทนอย่างคุ้มค่า

หากมีโทรศัพท์เก่าที่ต้องการขาย อย่ารอช้า ! เข้ามาที่เว็บไซต์ HRT Recycling และติดต่อประเมินราคาได้ทันที 

วิธีทำลายข้อมูลในคอมถาวร ปกป้องข้อมูลธุรกิจอย่างมืออาชีพ !

วิธีทำลายข้อมูลในคอมถาวร เพื่อรักษาความปลอดภัยในองค์กร

ต้องยอมรับว่า ในยุคดิจิทัลข้อมูลต่าง ๆ สามารถสื่อถึงกันได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจึงกลายเป็นเรื่องที่ธุรกิจทุกขนาดต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาข้อมูลรั่วไหล เพราะถ้าหากเกิดขึ้น ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเท่านั้น แต่ยังอาจนำไปสู่ความเสียหายทางการเงินและความผิดทางกฎหมายร้ายแรงอีกด้วย 

ดังนั้น การมองหาวิธีทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์อย่างถาวร จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ

ทำไมถึงควรทำลายข้อมูลอย่างถาวร ?

  • ป้องกันข้อมูลรั่วไหล: ข้อมูลสำคัญขององค์กร เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลทางการเงิน หรือความลับทางการค้า หากตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่หวังดี อาจสร้างความเสียหายมหาศาลได้
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย: หลายประเทศมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้มงวด การไม่ทำลายข้อมูลอย่างถูกต้องอาจนำไปสู่การถูกปรับ หรือดำเนินคดีได้
  • รักษาความปลอดภัยขององค์กร: การทำลายข้อมูลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความเสี่ยงจากการโจรกรรมข้อมูลและการโจมตีทางไซเบอร์ได้ 

รู้จัก ITAD วิธีทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์อย่างถาวร

ITAD ย่อมาจาก IT Asset Disposal หรือการจัดการสินทรัพย์ไอทีที่เลิกใช้งาน หมายถึง กระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอุปกรณ์ไอทีที่หมดอายุการใช้งาน หรือไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินมูลค่า การเตรียมการ การขนส่ง ไปจนถึงการทำลายข้อมูลและการรีไซเคิล ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนการจัดการ ITAD

  • ประเมิน (Assessment): ตรวจสอบมูลค่าและสภาพของอุปกรณ์
  • เตรียมการ (Preparation): จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการขนย้ายและทำลาย
  • ขนส่ง (Transportation): นำอุปกรณ์ไปยังสถานที่ทำลายอย่างปลอดภัย
  • ลบข้อมูล (Data Destruction): ทำลายข้อมูลภายในอุปกรณ์อย่างถาวรด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • รีไซเคิล (Recycling): นำชิ้นส่วนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไปรีไซเคิล เพื่อนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่
  • รายงาน (Reporting): จัดทำรายงานการทำลายข้อมูลและการรีไซเคิล

วิธีทำลายฮาร์ดดิสก์ หนึ่งในการทำลายข้อมูล ITAD

วิธีการทำลายข้อมูลใน ITAD

1. การลบข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์

เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถลบข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยจะใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทางในการเขียนข้อมูลแบบสุ่มทับลงบนพื้นที่ที่เคยเก็บข้อมูลเดิมหลายรอบ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเดิมได้อีก ซึ่งไม่ได้เป็นการทำลายสื่อจัดเก็บข้อมูลทางกายภาพ จึงมีข้อดีคือสามารถทำได้กับอุปกรณ์ที่ยังใช้งานได้ โดยไม่ทำลายฮาร์ดแวร์ แต่ในทางกลับกันก็ยังมีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะถูกกู้คืนหากมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในอนาคต

2. การลบข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็ก

วิธีนี้ใช้สำหรับการลบข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ โดยอาศัยหลักการใช้สนามแม่เหล็กแรงสูงเพื่อทำลายข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้บนแผ่นดิสก์แม่เหล็ก ทำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลเดิมได้อีกต่อไป แต่จะไม่สามารถใช้กับสื่อจัดเก็บข้อมูลประเภทอื่น เช่น SSD ได้ รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่อยู่ใกล้เคียงหากไม่ระมัดระวัง

3. การทำลายฮาร์ดดิสก์ทางกายภาพ

วิธีทำลายฮาร์ดดิสก์ถือเป็นการทำลายข้อมูลที่ปลอดภัยที่สุด ด้วยการบด เผา หรือทุบ ให้ฮาร์ดดิสก์เสียหาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกทำลายอย่างสมบูรณ์ โดยจะไม่สามารถนำอุปกรณ์กลับมาใช้งานได้อีก แต่ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังอาจสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหากไม่ได้จัดการขยะอย่างถูกวิธี จึงควรใช้บริการจากบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการรับทำลายฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ

เหตุผลที่ควรใช้บริการ ITAD จากมืออาชีพ

  • ความเชี่ยวชาญ: บริษัทผู้เชี่ยวชาญมีกระบวนการที่ได้มาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกทำลายอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความปลอดภัย: การใช้บริการจากมืออาชีพ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการทำลายข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลจะถูกทำลายอย่างถาวรและไม่สามารถกู้กลับมาได้อีก 
  • ความสะดวก: องค์กรไม่ต้องเสียทั้งเวลาและทรัพยากรในการจัดการเอง สามารถมุ่งเน้นไปที่การบริหารธุรกิจได้อย่างไม่ต้องกังวล 
  • เอกสารยืนยัน: บริษัทที่ให้บริการ ITAD มืออาชีพจะออกเอกสารยืนยัน ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับการตรวจสอบและการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • การรักษาสิ่งแวดล้อม: บริษัทที่รับทำลายข้อมูล มักมีกระบวนการรีไซเคิลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์

การจัดการ ITAD เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ โดยควรเลือกใช้บริการรับทำลายข้อมูลจากมืออาชีพ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลของคุณจะได้รับการปกป้องอย่างปลอดภัย และเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ HRT Recycling พร้อมให้บริการทำลายสื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย ด้วยการทำลายข้อมูลตามกระบวนการ พร้อมปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดอย่างเคร่งครัด จึงมั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่เก็บไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะถูกลบทิ้งทั้งหมด หมดกังวลว่าข้อมูลจะหลุด หรือรั่วไหล สามารถส่งอุปกรณ์เก่าที่ต้องการกำจัดมาที่โรงงานของเราโดยตรง หรือติดต่อให้ไปรับจากสำนักงานของคุณได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. โครงการ IT Asset Disposition (ITAD) สร้างความยั่งยั่ ยืนให้กับผลิตภัณฑ์ไอที. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 จาก https://appdb.tisi.go.th/tis_devs/regulate/eu/pdf/IT_Sustainable_010465.pdf
  2. IT asset disposition (ITAD). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 จาก https://www.techtarget.com/whatis/definition/IT-asset-disposition-ITAD 

วัสดุเหลือใช้มีอะไรบ้างที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ?

ในยุคที่การรักษาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นสำคัญ การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรีไซเคิลและการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างประโยชน์

จัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืน โดยสามารถทําอะไรได้บ้าง

ประโยชน์ของการรีไซเคิลขยะ

หลายคนอาจสงสัยว่าขยะที่ทิ้งไปทุกวันนั้น สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง คำตอบคือขยะหลายชนิดสามารถนำกลับมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ หรือที่เรียกกันว่าการรีไซเคิล ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย โดยสามารถจำแนกประโยชน์ได้ ดังนี้

ลดปริมาณขยะ

การรีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ หรือเผาทำลาย ซึ่งเป็นวิธีกำจัดขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและน้ำ การรีไซเคิลจึงช่วยให้วัสดุต่าง ๆ ถูกนำกลับมาใช้ซ้ำ ส่งผลให้ปริมาณขยะที่ต้องกำจัดลดลง

ประหยัดพลังงาน

การผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิลส่วนใหญ่มักใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตจากวัตถุดิบใหม่ เช่น การรีไซเคิลพลาสติกสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกใหม่ เนื่องจากไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้น ที่อาจต้องใช้ทั้งน้ำมัน ปิโตรเคมี และพลังงานไฟฟ้า

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

การรีไซเคิลช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตสินค้าใหม่ เช่น การตัดต้นไม้ การใช้น้ำมันดิบ รวมถึงลดการทำเหมืองแร่ ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อระบบนิเวศ

สร้างรายได้

ในปัจจุบันมีบริการรับซื้อขยะรีไซเคิลมากมาย การคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปขาย จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้เสริมที่ทำได้ง่ายและน่าสนใจ โดยเฉพาะสำหรับองค์กรและบริษัทที่มีปริมาณขยะรีไซเคิลจำนวนมากอยู่แล้ว

ขยะรีไซเคิลสามารถนำไปทําอะไรได้บ้าง ?

การรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้ ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณขยะและประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ จนอาจทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า วัสดุเหลือใช้มีอะไรบ้างที่นำมารีไซเคิลได้ และเมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้ว จะสามารถนำขยะรีไซเคิลไปทําอะไรได้บ้าง มาหาคำตอบกันได้ที่นี่

กระดาษ

กระดาษ เป็นหนึ่งในวัสดุที่รีไซเคิลได้ง่ายที่สุดและพบบ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์และนิตยสาร, กระดาษสำนักงาน เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร, กล่องกระดาษแข็ง, ถุงกระดาษ หรือแม้แต่แผ่นพับและโบรชัวร์ ซึ่งสามารถนำกลับมาผลิตเป็นกระดาษใหม่ได้ผ่านกระบวนการรีไซเคิล โดยจะเริ่มจากการแยกสี ย่อย และละลายเป็นเยื่อกระดาษ เพื่อนำไปขึ้นรูปเป็นกระดาษแผ่นใหม่ จากนั้นจึงนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น กระดาษรีไซเคิล กล่องไข่ หรือวัสดุบรรจุภัณฑ์ ซึ่งการรีไซเคิลกระดาษจะช่วยลดการตัดต้นไม้ ประหยัดพลังงานในการผลิตกระดาษใหม่ อีกทั้งยังลดมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตกระดาษได้อีกด้วย

พลาสติก

พลาสติก เป็นวัสดุที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่ไม่ใช่ทุกชนิดที่จะสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ โดยพลาสติกที่รีไซเคิลมักมีเครื่องหมายรีไซเคิลพร้อมตัวเลขกำกับ ดังนี้

  • หมายเลข 1 PET เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ซึ่งเป็นพลาสติกใสที่แข็งแรงและมีความยืดหยุ่นสูง จึงมักนำมาบรรจุน้ำดื่มและน้ำอัดลม
  • หมายเลข 2 HDPE เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง แต่มีน้ำหนักเบา โดยมักนำมาทำเป็นขวดน้ำดื่ม ถังน้ำ หรือขวดแชมพู
  • หมายเลข 3 PVC เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกชนิดโพลิไวนิลคลอไรด์ หรือไวนิล ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน และยืดหยุ่น โดยมักนำมาใช้เป็นท่อประปา ฉนวนหุ้มสายไฟ ประตูพีวีซี หรือแม้แต่กระเป๋าหนังเทียม
  • หมายเลข 4 LDPE เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง เหนียว ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จึงมักนำมาใช้เป็นถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่แข็ง
  • หมายเลข 5 PP เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกประเภทโพลิโพรพิลีน ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อสารเคมีและความร้อน จึงมักนำมาใช้สำหรับทำถุงบรรจุอาหาร หรือกล่องอาหารที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้
  • หมายเลข 6 PS เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกโพลิสไตรีน ซึ่งเป็นพลาสติกโปร่งใส ที่ทนทานต่อกรด ด่าง โดยมักนำมาใช้เพื่อผลิตกล่องโฟม ช้อนส้อมพลาสติก
  • หมายเลข 7 Other เป็นกลุ่มของพลาสติกหลากหลายชนิดที่ไม่สามารถจัดอยู่ใน 6 ประเภทหลักได้ ซึ่งมักเป็นส่วนผสมของวัสดุหลายชนิด หรืออาจเป็นพลาสติกประเภทพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เช่น โพลิคาร์บอเนต (Polycarbonate) หรือ LEXAN ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างจากพลาสติกทั่วไป

โดยกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกจะเริ่มจากการคัดแยกตามประเภท ล้างทำความสะอาด บด และหลอมเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ เช่น เสื้อผ้า พรม หรือเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งการรีไซเคิลพลาสติกสามารถช่วยลดการใช้น้ำมันดิบ รวมถึงลดปริมาณขยะพลาสติกที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม

แก้ว

แก้ว เป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% และสามารถรีไซเคิลได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งโดยไม่สูญเสียคุณภาพ โดยกระบวนการรีไซเคิลแก้วจะเริ่มต้นจากการนำขวดแก้ว หรือภาชนะแก้วที่ใช้แล้วมาทำความสะอาดและแยกสี จากนั้นจะนำไปบดเป็นเศษแก้วเล็ก ๆ เพื่อนำไปหลอมละลาย และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แก้วใหม่ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานและลดการใช้ทรายซิลิกา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแก้ว

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-waste เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพแล้ว ถือเป็นขยะที่มีสารเคมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยสามารถนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ มาแยกชิ้นส่วนเพื่อนำวัสดุมีค่า เช่น ทองแดง ทองคำ และเงิน กลับมารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ได้ 

โลหะ

โลหะ เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง  สังกะสี ตะกั่ว และดีบุก เป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้หลายครั้งโดยไม่สูญเสียคุณสมบัติ โดยกระบวนการรีไซเคิลโลหะจะเริ่มต้นจากการนำโลหะที่ใช้แล้วมาทำความสะอาดและแยกชนิด จากนั้นจะนำไปหลอมละลายเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหะใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกระบวนการผลิตโลหะใหม่จากแร่ดิบ

การรีไซเคิลเป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการคัดแยกขยะ การลดการใช้พลาสติก หรือการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ล้วนมีความสำคัญในการสร้างโลกที่ยั่งยืน อย่าปล่อยให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์และโลหะถูกทิ้งให้กลายเป็นสิ่งอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นดูแลโลก ปกป้องสิ่งแวดล้อมของเราจากมลพิษ และอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่าสำหรับคนรุ่นหลัง กับ HRT Recycling โรงงานรับรีไซเคิลที่พร้อมดูแลการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยบริการที่หลากหลาย ทั้งการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์และซื้อขายโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เพื่อแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยโรงงานขยะอิเล็กทรอนิกส์ของเรามีใบอนุญาตที่จำเป็นทั้งหมดจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายขยะอิเล็กทรอนิกส์และแร่ รวมถึงประกอบธุรกิจรีไซเคิลได้อย่างถูกต้อง สามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่โรงงานของเราโดยตรง หรือติดต่อให้ไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. ทำไมเราต้องรีไซเคิล?. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 จาก https://erdi.cmu.ac.th/?p=5682 
  2. ขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ มีอะไรบ้าง ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/35/iid/231267 
  3. รู้จัก สัญลักษณ์รีไซเคิล พลาสติก กันเถอะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 จาก https://www.baanlaesuan.com/53564/easy-tips/recycling-symbols 

แร่มีอะไรบ้างที่ช่วยส่งเสริมประโยชน์จากธรรมชาติสู่เทคโนโลยี

‘แร่’ สารประกอบอนินทรีย์หรือธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอน และมีโครงสร้างผลึกที่เป็นระเบียบ แม้บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ก็อยู่ในวงจำกัด ซึ่งหลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้ว แร่ยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

ทำความรู้จัก ประโยชน์ของแร่มีอะไรบ้าง ?

แร่ธาตุมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้หลัก ๆ ดังนี้

เป็นแหล่งพลังงาน

แร่ธาตุอย่างถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนโลก ทั้งในการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในปริมาณมาก นอกจากจะเสี่ยงต่อการใช้จนหมดสิ้นไปแล้ว ยังถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนและสิ่งแวดล้อม ให้สามารถนำพลังงานจากแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด

เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม

แร่ธาตุเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ตั้งแต่เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงและยานพาหนะ, การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ตโฟนและรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการใช้อะลูมิเนียมที่เบาแต่แข็งแรงในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุบางส่วนที่นำไปพัฒนาเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี เพื่อใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

เป็นแหล่งของเครื่องประดับ

การใช้ประโยชน์จากแร่ไม่ได้จำกัดไว้แค่เพียงใช้เป็นพลังงานสำคัญ หรือเป็นส่วนประกอบหลักในอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังมีความโดดเด่นอย่างยิ่งในด้านส่งเสริมความสวยงาม โดยแร่ธาตุ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน และมรกต ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เนื่องจากมีความแข็งแรง แวววาว อีกทั้งยังมีสีสันที่สวยงาม และหายากอย่างยิ่ง จึงเป็นเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอมา

เป็นแหล่งของสารเคมี

แร่ธาตุหลายชนิดเป็นแหล่งของสารเคมีที่สำคัญในอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น ฟอสเฟตที่ใช้สำหรับการผลิตสารทำความสะอาดและยา, กำมะถัน ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เกลือหินที่ใช้ในการผลิตคลอรีนและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งใช้ในการทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรก เช่น สบู่ และเคมีภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ

รู้จักแร่ธาตุแห่งอนาคต มีอะไรบ้าง ?

โลกในยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ซึ่งล้วนอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน หนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือแร่ธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าแร่ธาตุที่ถูกขนานนามว่าเป็น แร่ธาตุแห่งอนาคต

ลิเธียม (Lithium)

ลิเธียม เป็นธาตุโลหะอัลคาไลน์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ที่เป็นหัวใจสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยในปัจจุบัน ความต้องการลิเธียมได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้กลายเป็นแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก

แทนทาลัม (Tantalum)

แทนทาลัม เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และสามารถนำความร้อนได้ดี ด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ทำให้แทนทาลัมถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท เช่น ตัวเก็บประจุในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ แทนทาลัมยังใช้ในการผลิตโลหะผสมที่มีความแข็งแรงสูงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศและการทหาร

แคสซิเทอไรต์ (Cassiterite)

แคสซิเทอไรต์ เป็นแร่ธาตุของดีบุก ซึ่งเป็นโลหะที่มีความยืดหยุ่นและทนต่อการกัดกร่อน โดยดีบุกถูกนำไปใช้ในการผลิตโลหะผสม เช่น บรอนซ์ ซึ่งมีทองแดงเป็นส่วนผสมหลัก และใช้เคลือบเหล็กเพื่อป้องกันสนิม นอกจากนี้ ยังนำไปใช้ในการผลิตกระป๋องอาหารและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตแผงวงจรพิมพ์

การใช้ประโยชน์จากแร่ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต

เบริลเลียม (Beryllium)

เบริลเลียม เป็นโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง และนำความร้อนได้ดี จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงสูง เช่น อุตสาหกรรมอวกาศ ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการทหาร รวมถึงใช้ในการผลิตหลอดรังสีเอกซ์และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

วูลแฟรม, ทังสเตน (Wolframite, Tungsten)

วูลแฟรม หรือทังสเตน เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อการสึกหรอ และมีความแข็งแรงมาก จึงเหมาะสำหรับใช้ในการผลิตเครื่องมือตัดเฉือน เตาหลอม และเส้นใยทนความร้อน นอกจากนี้ ทังสเตนยังถูกนำไปใช้ในการผลิตกระสุนปืน และโลหะผสมสำหรับอุตสาหกรรมการทหาร

แมงกานีส (Manganese)

แมงกานีส เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความสำคัญในการผลิตเหล็กกล้า โดยเฉพาะเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความทนทาน และความต้านทานต่อการกัดกร่อน นอกจากนี้ แมงกานีสยังถูกนำไปใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ และสารเคมีต่าง ๆ

แร่ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่มีทรัพยากรแร่ที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากแร่ควรคำนึงถึงความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอันล้ำค่านี้ได้อย่างยาวนานและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงยังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องเผชิญ เช่น การขาดแคลนแหล่งแร่ธาตุและการแข่งขันเพื่อครอบครองแหล่งแร่ธาตุ

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อขายแร่ ที่มุ่งเน้นเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าสู่กระบวนการซื้อขายได้กับ HRT Recycling บริษัทรับซื้อแร่และจำหน่ายแร่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยบริการที่ครอบคลุมและปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของตลาดแร่ โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกการรับซื้อขายแร่ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อขายลิเธียม แทนทาลัม เบริลเลียม วูลแฟรม แมงกานีส รวมถึงรับซื้อขายดีบุก เป็นไปอย่างสะดวก ไร้อุปสรรค ในราคารับซื้อที่ครอบคลุม พร้อมการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด รวมถึงบริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ จึงมั่นใจได้ว่า HRT Recycling จะนำเสนอโซลูชันการจัดหาแร่ที่ยอดเยี่ยม จากเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ทั่วโลก !

แหล่งอ้างอิง

  1. แร่. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7187-2017-06-08-14-16-10
  2. แร่ธาตุลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.springnews.co.th/program/keep-the-world/847870

แร่มีอะไรบ้างที่ช่วยส่งเสริมประโยชน์จากธรรมชาติสู่เทคโนโลยี

‘แร่’ สารประกอบอนินทรีย์หรือธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอน และมีโครงสร้างผลึกที่เป็นระเบียบ แม้บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ก็อยู่ในวงจำกัด ซึ่งหลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้ว แร่ยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

ทำความรู้จัก ประโยชน์ของแร่มีอะไรบ้าง ?

แร่ธาตุมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้หลัก ๆ ดังนี้

เป็นแหล่งพลังงาน

แร่ธาตุอย่างถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนโลก ทั้งในการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในปริมาณมาก นอกจากจะเสี่ยงต่อการใช้จนหมดสิ้นไปแล้ว ยังถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนและสิ่งแวดล้อม ให้สามารถนำพลังงานจากแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด

เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม

แร่ธาตุเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ตั้งแต่เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงและยานพาหนะ, การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ตโฟนและรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการใช้อะลูมิเนียมที่เบาแต่แข็งแรงในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุบางส่วนที่นำไปพัฒนาเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี เพื่อใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

เป็นแหล่งของเครื่องประดับ

การใช้ประโยชน์จากแร่ไม่ได้จำกัดไว้แค่เพียงใช้เป็นพลังงานสำคัญ หรือเป็นส่วนประกอบหลักในอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังมีความโดดเด่นอย่างยิ่งในด้านส่งเสริมความสวยงาม โดยแร่ธาตุ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน และมรกต ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เนื่องจากมีความแข็งแรง แวววาว อีกทั้งยังมีสีสันที่สวยงาม และหายากอย่างยิ่ง จึงเป็นเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอมา

เป็นแหล่งของสารเคมี

แร่ธาตุหลายชนิดเป็นแหล่งของสารเคมีที่สำคัญในอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น ฟอสเฟตที่ใช้สำหรับการผลิตสารทำความสะอาดและยา, กำมะถัน ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เกลือหินที่ใช้ในการผลิตคลอรีนและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งใช้ในการทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรก เช่น สบู่ และเคมีภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ

รู้จักแร่ธาตุแห่งอนาคต มีอะไรบ้าง ?

โลกในยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ซึ่งล้วนอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน หนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือแร่ธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าแร่ธาตุที่ถูกขนานนามว่าเป็น แร่ธาตุแห่งอนาคต

ลิเธียม (Lithium)

ลิเธียม เป็นธาตุโลหะอัลคาไลน์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ที่เป็นหัวใจสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยในปัจจุบัน ความต้องการลิเธียมได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้กลายเป็นแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก

แทนทาลัม (Tantalum)

แทนทาลัม เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และสามารถนำความร้อนได้ดี ด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ทำให้แทนทาลัมถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท เช่น ตัวเก็บประจุในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ แทนทาลัมยังใช้ในการผลิตโลหะผสมที่มีความแข็งแรงสูงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศและการทหาร

แคสซิเทอไรต์ (Cassiterite)

แคสซิเทอไรต์ เป็นแร่ธาตุของดีบุก ซึ่งเป็นโลหะที่มีความยืดหยุ่นและทนต่อการกัดกร่อน โดยดีบุกถูกนำไปใช้ในการผลิตโลหะผสม เช่น บรอนซ์ ซึ่งมีทองแดงเป็นส่วนผสมหลัก และใช้เคลือบเหล็กเพื่อป้องกันสนิม นอกจากนี้ ยังนำไปใช้ในการผลิตกระป๋องอาหารและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตแผงวงจรพิมพ์

การใช้ประโยชน์จากแร่ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต

เบริลเลียม (Beryllium)

เบริลเลียม เป็นโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง และนำความร้อนได้ดี จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงสูง เช่น อุตสาหกรรมอวกาศ ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการทหาร รวมถึงใช้ในการผลิตหลอดรังสีเอกซ์และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

วูลแฟรม, ทังสเตน (Wolframite, Tungsten)

วูลแฟรม หรือทังสเตน เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อการสึกหรอ และมีความแข็งแรงมาก จึงเหมาะสำหรับใช้ในการผลิตเครื่องมือตัดเฉือน เตาหลอม และเส้นใยทนความร้อน นอกจากนี้ ทังสเตนยังถูกนำไปใช้ในการผลิตกระสุนปืน และโลหะผสมสำหรับอุตสาหกรรมการทหาร

แมงกานีส (Manganese)

แมงกานีส เป็นโลหะทรานซิชันที่มีความสำคัญในการผลิตเหล็กกล้า โดยเฉพาะเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความทนทาน และความต้านทานต่อการกัดกร่อน นอกจากนี้ แมงกานีสยังถูกนำไปใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ และสารเคมีต่าง ๆ

แร่ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่มีทรัพยากรแร่ที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากแร่ควรคำนึงถึงความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอันล้ำค่านี้ได้อย่างยาวนานและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงยังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องเผชิญ เช่น การขาดแคลนแหล่งแร่ธาตุและการแข่งขันเพื่อครอบครองแหล่งแร่ธาตุ

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งรับซื้อขายแร่ ที่มุ่งเน้นเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าสู่กระบวนการซื้อขายได้กับ HRT Recycling บริษัทรับซื้อแร่และจำหน่ายแร่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยบริการที่ครอบคลุมและปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของตลาดแร่ โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกการรับซื้อขายแร่ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อขายลิเธียม แทนทาลัม เบริลเลียม วูลแฟรม แมงกานีส รวมถึงรับซื้อขายดีบุก เป็นไปอย่างสะดวก ไร้อุปสรรค ในราคารับซื้อที่ครอบคลุม พร้อมการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด รวมถึงบริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ จึงมั่นใจได้ว่า HRT Recycling จะนำเสนอโซลูชันการจัดหาแร่ที่ยอดเยี่ยม จากเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ทั่วโลก !

แหล่งอ้างอิง

  1. แร่. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7187-2017-06-08-14-16-10
  2. แร่ธาตุลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://www.springnews.co.th/program/keep-the-world/847870

ของที่รีไซเคิลได้ประเภทไหนขายได้ราคาดี ?

รู้ไหม การนำขยะรีไซเคิลไปขาย อาจสร้างรายได้มากกว่าที่คิด

การรีไซเคิล ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณขยะ ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว การรีไซเคิลยังสามารถสร้างรายได้เสริมอีกด้วย แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า ขยะรีไซเคิลประเภทไหนที่ขายได้ราคาดีที่สุด ? วันนี้เรามาแจกแจงราคาขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท พร้อมทั้งเคล็ดลับในการเตรียมขยะเพื่อให้ขายได้ราคาดีที่สุด ติดตามเลย

ของอะไรบ้างที่รีไซเคิลได้ ?

ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับประเภทของที่รีไซเคิลได้ ซึ่งแน่นอนว่ามีด้วยกันหลากหลาย แต่เราสามารถจัดแบ่งตามประเภทได้ดังนี้

  • กระดาษ : รวมถึงกระดาษขาว-ดำ กระดาษสี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องกระดาษ และกระดาษลัง
  • แก้ว : ขวดแก้ว แก้วแตก และภาชนะแก้วต่าง ๆ
  • โลหะ : เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง สเตนเลส เป็นต้น
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ : คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ หูฟัง เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อุปกรณ์เครื่องเสียง
  • แบตเตอรี่ : แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง และแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ

ราคาขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท

เมื่อเรารู้แล้วว่าของที่รีไซเคิลได้มีอะไรบ้าง ก็มาถึงในส่วนข้อมูลราคาขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท เพราะยิ่งมีความรู้เรื่องนี้เท่าไร ก็จะทำให้ไม่โดนเอาเปรียบเวลาที่นำขยะรีไซเคิลไปขาย 

  • โลหะ :
    • ทองแดงเป็นโลหะที่มีราคาสูงที่สุดในบรรดาขยะรีไซเคิลทั่วไป โดยราคาอยู่ที่ประมาณ 150-200 บาทต่อกิโลกรัม
    • ทองเหลืองมีราคาประมาณ 100-150 บาทต่อกิโลกรัม
    • อะลูมิเนียมมีราคาประมาณ 50-70 บาทต่อกิโลกรัม
  • อิเล็กทรอนิกส์ :คอมพิวเตอร์เก่าอาจขายได้ราคาตั้งแต่ 100-1,000 บาทต่อเครื่อง ขึ้นอยู่กับรุ่นและสภาพ
    • โทรศัพท์มือถือเก่าอาจขายได้ตั้งแต่ 50-500 บาทต่อเครื่อง
  • กระดาษ :
    • กระดาษขาว-ดำมีราคาสูงสุดที่ประมาณ 7-10 บาทต่อกิโลกรัม
    • กระดาษสีและกระดาษหนังสือพิมพ์มีราคาประมาณ 3-5 บาทต่อกิโลกรัม
  • พลาสติก :
    • ขวดพลาสติกใสมีราคาประมาณ 10-15 บาทต่อกิโลกรัม
    • ถุงพลาสติกและพลาสติกอื่น ๆ มีราคาประมาณ 5-10 บาทต่อกิโลกรัม
  • แก้ว :
    • แก้วเป็นวัสดุที่มีราคารับซื้อต่ำที่สุดในบรรดาขยะรีไซเคิลทั่วไป โดยมีราคาประมาณ 1-2 บาทต่อกิโลกรัม
  • แบตเตอรี่ :
    • ราคาแตกต่างกันไปตามชนิดของแบตเตอรี่และสภาพตลาด แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 30-50 บาทต่อกิโลกรัม

อย่างไรก็ตาม ราคาขยะรีไซเคิลเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาพตลาดและความต้องการรีไซเคิลของเหลือใช้ในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น จึงควรหมั่นติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อหาจังหวะที่จะสามารถสร้างรายได้จากการนำขยะรีไซเคิลไปขายได้มากที่สุด

คนกำลังจัดการกับของที่รีไซเคิลได้ประเภทแบตเตอรี่

วิธีการเตรียมของที่รีไซเคิลได้ไปขายเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด

  1. แยกขยะตามประเภท : การแยกของที่รีไซเคิลได้ตามประเภทอย่างชัดเจนจะช่วยให้ผู้รับซื้อสามารถประเมินราคาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณได้ราคาที่ดีกว่าการนำขยะหลายประเภทมาปนกัน เช่น แยกขวดพลาสติกใสออกจากพลาสติกชนิดอื่น หรือแยกโลหะแต่ละชนิดออกจากกัน
  2. ทำความสะอาดขยะ : ขยะที่สะอาดจะได้ราคาดีกว่าขยะสกปรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพลาสติกและแก้ว ควรล้างทำความสะอาดและตากให้แห้งก่อนนำไปขาย สำหรับกระดาษ ควรแยกส่วนที่เปียกหรือเปื้อนออก ส่วนโลหะควรกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกให้มากที่สุด
  3. บดหรืออัดขยะ : การบดหรืออัดขยะให้มีขนาดเล็กลงจะช่วยประหยัดพื้นที่ในการขนส่งและจัดเก็บ ทำให้ได้ราคาขยะรีไซเคิลที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสำหรับพลาสติกและกระดาษ เช่น การบีบอัดขวดพลาสติกหรือกล่องกระดาษให้แบนลง
  4. จัดเรียงขยะให้เรียบร้อย : การจัดเรียงของที่รีไซเคิลได้อย่างเป็นระเบียบจะช่วยให้ผู้รับซื้อสามารถประเมินปริมาณและคุณภาพของขยะได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ได้ราคาขยะรีไซเคิลที่ดีขึ้น เช่น การมัดกระดาษเป็นปึก หรือการบรรจุขวดพลาสติกลงในถุงใสเพื่อให้เห็นปริมาณชัดเจน
  5. สะสมขยะรีไซเคิลให้ได้ปริมาณมาก ๆ ก่อนนำไปขาย : เพราะการขายในปริมาณมากอาจได้ราคาต่อหน่วยที่ดีกว่าการขายทีละน้อย โดยเฉพาะสำหรับวัสดุที่มีราคาต่อกิโลกรัมไม่สูงมาก เช่น กระดาษหรือพลาสติก

การรีไซเคิลของเหลือใช้ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างรายได้เสริมเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย เรียกได้ว่านี่คือสิ่งที่ควรทำเพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อยากกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี แถมได้ราคาดี ให้ HRT Recycling เป็นผู้ช่วย

ผู้ประกอบการท่านใดต้องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิส์อย่างปลอดภัย และสามารถสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิส์มาขายได้ที่ HRT Recycling บริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายการที่รับซื้อมีดังต่อไปนี้

  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เซิร์ฟเวอร์ โทรศัพท์มือถือ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เตาไมโครเวฟ และเครื่องใช้ในครัวเรือนอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์
  • อุปกรณ์ภาพและเสียง เช่น เครื่องเล่น DVD เครื่องเล่น Blu-ray ระบบสเตอริโอ ลำโพง หูฟัง และอุปกรณ์ภาพและเสียงอื่น ๆ
  • กล้องดิจิทัล กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์เสริม เช่น การ์ดหน่วยความจำ และแบตเตอรี่
  • คอนโซลวิดีโอเกม ตัวควบคุม และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง
  • อุปกรณ์เครือข่าย เช่น เราเตอร์ โมเด็ม สวิตช์ และอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
  • อินเทอร์เน็ต เครื่องพิมพ์และเครื่องสแกน เช่น เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต เครื่องพิมพ์เลเซอร์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง
  • อุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ เครื่องทำลายเอกสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่พบได้ทั่วไปในสำนักงาน

ในฐานะผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เรารีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. 7 Tips to Recycle Better. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 จาก https://www.earthday.org/7-tips-to-recycle-better/

วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้อง ปลอดภัยต่อโลก ทำตามได้เลย

“พาวเวอร์แบงก์ต้องทิ้งยังไง ?”

เรียกได้ว่าทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ตโฟน กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนเราไปแล้ว ด้วยประโยชน์ใช้งานที่หลากหลาย ทั้งความบันเทิง การเรียน การประชุม ประสานงาน สุขภาพ สังคมเพื่อน และอื่น ๆ รวมอยู่ในเครื่องเดียว ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วันหนึ่งจะใช้งานหลายชั่วโมง รู้ตัวอีกทีแบตเตอรี่ก็ลดฮวบ จนต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมอย่าง “พาวเวอร์แบงก์” อย่างไรก็ดี เมื่อเลือกที่จะใช้งานแล้ว ก็ควรรู้วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ด้วย เพราะถ้าทิ้งผิดวิธี สิ่งนี้สามารถทำร้ายโลกได้มากกว่าที่คิด ส่วนจะต้องทิ้งยังไง รู้ได้ในบทความนี้เลย

วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ที่พังแล้วอย่างปลอดภัย

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการทิ้งพาวเวอร์แบงก์ ?

พาวเวอร์แบงก์ประกอบด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งมีส่วนที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหากกำจัดไม่ถูกวิธี เช่น โลหะหนัก และสารเคมีต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าเราทิ้งพาวเวอร์แบงก์ลงในถังขยะทั่วไป สารพิษเหล่านี้อาจรั่วไหลและปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว

นอกจากนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดหรือลุกไหม้ได้ หากได้รับความร้อนสูง หรือถูกกระแทกอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ การทิ้งพาวเวอร์แบงก์ในถังขยะทั่วไปจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อพนักงานเก็บขยะได้

อีกประเด็นสำคัญคือ พาวเวอร์แบงก์มีส่วนประกอบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้น ถ้าทราบถึงวิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ก็ช่วยให้สามารถนำทรัพยากรเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ

วิธีการทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้องและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  1. ตรวจสอบสถานะของพาวเวอร์แบงก์ : ก่อนเริ่มวิธีทิ้งแบตเตอรี่สำรอง แนะนำให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์นั้นเสียจริง ๆ หรือไม่ บางครั้งปัญหาอาจเกิดจากสายชาร์จหรือพอร์ตที่ใช้งาน ลองเปลี่ยนสายชาร์จ หรือทดสอบกับอุปกรณ์อื่น ๆ ก่อน ถ้าตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าพาวเวอร์แบงก์เสียจริง จึงดำเนินการขั้นตอนต่อไป
  2. คายประจุไฟฟ้าให้หมด : เพื่อความปลอดภัย ควรคายประจุไฟฟ้าในพาวเวอร์แบงก์ให้หมดก่อนทิ้ง โดยเสียบสายชาร์จเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และปล่อยให้พลังงานหมดจนกระทั่งไม่สามารถชาร์จได้อีก วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ขั้นตอนนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิดระหว่างการขนส่งและการกำจัด
  3. แยกชิ้นส่วนที่รีไซเคิลได้ : สำหรับผู้ที่มีความรู้ การแยกชิ้นส่วนของพาวเวอร์แบงก์ออกจากกัน โดยแยกส่วนที่เป็นพลาสติก โลหะ และแผงวงจรออกจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะช่วยให้กระบวนการรีไซเคิลง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีทักษะดังกล่าวก็ไม่ควรพยายามแยกชิ้นส่วนด้วยตนเอง เนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้
  4. ใช้บริการบริษัทรับรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ : ในประเทศไทยมีบริษัทที่ให้บริการรับรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ บริษัทเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่อย่างปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บางบริษัทอาจมีบริการรับของถึงที่ ซึ่งสะดวกสำหรับผู้ที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก

ถ้าพาวเวอร์แบงก์ที่ใช้งานไม่ได้แล้วควรใช้บริการบริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์

ถ้าเราทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกวิธีจะมีผลดีอย่างไร ?

  • ลดมลพิษ : วิธีทิ้งแบตเตอรี่สำรองที่ถูกต้องช่วยป้องกันการรั่วไหลของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ลดการปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ ส่งผลดีต่อระบบนิเวศและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อาจเกิดขึ้นจากการย่อยสลายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในหลุมฝังกลบอีกด้วย
  • ประหยัดทรัพยากร : การรีไซเคิลพาวเวอร์แบงก์ช่วยให้สามารถนำวัสดุมีค่า เช่น เงิน ทองแดง และโลหะอื่น ๆ กลับมาใช้ใหม่ได้ โดยยิ่งมีการนำกลับมาใช้ใหม่เท่าไร ก็ยิ่งช่วยลดการทำเหมืองและการสกัดทรัพยากรใหม่ ส่งผลให้ประหยัดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตได้มากเท่านั้น
  • ลดปริมาณขยะ : แน่นอนว่าวิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์ที่ถูกต้องย่อมช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบหรือเผาทำลาย ทำให้ยืดอายุการใช้งานของหลุมฝังกลบและลดมลพิษจากการเผาขยะ นอกจากนี้ยังช่วยลดพื้นที่ที่ต้องใช้ในการจัดการขยะ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในหลายเมืองทั่วโลก
  • สร้างความตระหนักรู้ : เมื่อคนรอบตัวเห็นเราหรือหน่วยงานของเราใช้วิธีทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะอยากทำตาม สิ่งนี้ถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้าง ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการขยะประเภทอื่น ๆ ด้วย
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน : ปลายทางของวิธีทิ้งแบตเตอรี่สำรองที่ถูกต้องคือ การรีไซเคิลพาวเวอร์แบงก์ ซึ่งสิ่งนี้สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดของเสีย โดยการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ในวงจรการผลิต

อยากกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ให้ HRT Recycling เป็นผู้ช่วย

การทิ้งพาวเวอร์แบงก์อย่างถูกต้องคือสิ่งที่คนทั่วไปควรทำ ส่วนผู้ประกอบการที่มีพลังในการช่วยโลกได้มากกว่า ก็ขอแนะนำให้กำจัดแบตเตอรี่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแบบถูกวิธี ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเลือกใช้บริการ HRT Recycling เราคือบริษัทรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ รับซื้อขายแร่ รับซื้อขายลิเธียม ในฐานะผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เรารีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 3,000 ตัน มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่โปร่งใส โดยทีมของเราพร้อมไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงานของคุณ หรือคุณสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราโดยตรงได้เลย !

แหล่งอ้างอิง

  1. How to Properly Recycle or Dispose of a Power Bank. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จาก https://circular.eco/article/how-to-recycle-or-dispose-of-a-power-bank
  2. Safe battery recycling. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.epa.nsw.gov.au/your-environment/recycling-and-reuse/household-recycling-overview/safe-battery-recycling

เช็กสัญญาณเตือนแบตเตอรี่เก่าเสื่อมสภาพ เอาไปทำอะไรได้บ้าง ?

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ จึงต้องการแหล่งพลังงานจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เสถียรอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้แบตเตอรี่เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสิ้นเปลือง เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ และกลายเป็นขยะที่หลายคนมองข้าม บทความนี้จึงจะพามารู้จักกับแบตเตอรี่แต่ละประเภทให้ละเอียด พร้อมช่วยไขคำตอบว่าแบตเตอรี่เก่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

รู้จักแบตเตอรี่เก่า ก่อนศึกษาว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

ทำความรู้จัก แบตเตอรี่มีกี่ประเภท

ปัจจุบันมีการพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพและหลากหลายชนิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นแบตเตอรี่ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เมื่อพลังงานหมดแล้วไม่สามารถชาร์จไฟใหม่ได้ ต้องทิ้งและเปลี่ยนใหม่ โดยมักใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานต่ำ เช่น รีโมตคอนโทรล นาฬิกาข้อมือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น

  • แบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน เป็นแบตเตอรี่ชนิดแรก ๆ ที่ผลิตขึ้น มีราคาถูก แต่มีพลังงานต่ำ
  • แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ให้พลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน มีอายุการใช้งานนานกว่า เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานปานกลาง
  • แบตเตอรี่ลิเธียม เป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ต้องการพลังงานสูง เช่น กล้องดิจิทัล

แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้

แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ เป็นแบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น

  • แบตเตอรี่กรดตะกั่ว เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในรถยนต์ มีราคาถูก แต่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
  • แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Ni-MH) มีความจุสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่มีปัญหาเรื่องความจำ
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีความหนาแน่นของพลังงานสูง น้ำหนักเบา ชาร์จไฟเร็ว และมีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อป
  • แบตเตอรี่โซเดียมซัลเฟอร์ มีความจุสูงมาก ราคาถูก และมีความปลอดภัยสูง แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องอุณหภูมิในการทำงาน จึงยังไม่เป็นที่นิยมใช้ในอุปกรณ์พกพา
เกร็ดความรู้ : 

ปัญหาด้านความจำ หรือ Memory Effect เกิดขึ้นในกรณีที่เมื่อก่อนหากชาร์จแบตเตอรี่ไม่เต็ม หรือปล่อยให้แบตเตอรี่หมดบ่อย ๆ แบตเตอรี่จะจำสภาพนั้นไว้ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่พบกรณีนี้แล้ว

เช็กสัญญาณเตือน ! แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ

เมื่อแบตเตอรี่เสื่อมสภาพลง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของอุปกรณ์ และอาจเกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้น การสังเกตสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าแบตเตอรี่เสื่อมสภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ได้ทันท่วงที ก่อนจะเกิดปัญหารุนแรง โดยมีสัญญาณเตือน ดังนี้

  • ใช้งานได้น้อยลง ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ โดยมีตัวอย่างของการใช้งานแบตเตอรี่ได้น้อยลง เช่น
    • อุปกรณ์ใช้งานได้ไม่นานเท่าเดิม แม้จะชาร์จจนเต็ม
    • ต้องชาร์จแบตเตอรี่บ่อยขึ้นกว่าปกติ
    • เปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ลดลงเร็วผิดปกติ โดยเฉพาะในช่วง 20-0%
    • อุปกรณ์ดับกะทันหันทั้งที่ยังแสดงว่ามีแบตเตอรี่เหลืออยู่
  • เครื่องร้อนผิดปกติ เนื่องจากแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อจ่ายพลังงาน ทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นกว่าปกติ โดยอุปกรณ์อาจร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วแม้ใช้งานเพียงเล็กน้อย รวมถึงอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้เครื่องทำงานช้าลง หรือค้างบ่อยขึ้น
  • ตัวแบตเตอรี่โป่งพอง โดยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เสื่อมสภาพอาจเกิดการขยายตัว หรือโป่งพองได้ ซึ่งเป็นอันตรายและอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ ซึ่งการพองตัวของแบตเตอรี่ อาจทำให้ฝาหลังของอุปกรณ์เปิดออกมาเอง หรือไม่สามารถปิดสนิทได้

รับซื้อขายแร่ รีไซเคิลแบตเตอรี่ เพื่อทางออกที่ยั่งยืน

แบตเตอรี่เก่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ?

เมื่อแบตเตอรี่หมดอายุลง หลายคนมักนำไปฝังใต้ดิน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา แท้จริงแล้วทางเลือกที่ดีที่สุด คือการนำแบตเตอรี่ไปทิ้งในจุดที่รับทิ้งแบตเตอรี่ให้ถูกต้อง โดยเริ่มจากแยกแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ที่ใช้งานก่อน จากนั้นใส่ถุงมัดปิด เพื่อไม่ให้เกิดการลัดวงจรและติดป้ายให้ชัดเจนว่าเป็นขยะมีพิษ แล้วจึงนำไปทิ้งตามจุดที่รับทิ้งต่าง ๆ เพื่อนำเข้าสู่การรีไซเคิล หรือการกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป แต่ยังมีอีกทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นคือการนำแบตเตอรี่ไปขาย !

การขายแบตเตอรี่เก่า ทางออกสู่การกำจัดอย่างยั่งยืน

นอกจากการนำแบตเตอรี่เก่าไปขายหรือรีไซเคิล จะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังสามารถนำไปขายต่อเพื่อสร้างรายได้เสริม ทำให้หลายคนอาจเกิดคำถามตามมาว่า “แบตเตอรี่เก่าขายได้เท่าไหร่ ? แบตเตอรี่เก่ากิโลละกี่บาท ?” ซึ่งราคาของแบตเตอรี่เก่าอาจไม่ได้คำนวณจากกิโลกรัมเพียงอย่างเดียว แต่อาจพิจารณาร่วมจากหลายปัจจัย ดังนี้

ประเภทของแบตเตอรี่

โดยแบตเตอรี่แต่ละชนิดจะมีราคาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และความจุของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ มักจะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียมจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่า

สภาพของแบตเตอรี่

สภาพของแบตเตอรี่มีผลต่อราคาอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าแบตเตอรี่ที่ยังใช้งานได้ดี หรือแบตเตอรี่ที่ชำรุดน้อย จะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ชำรุดเสียหาย อีกทั้งแบตเตอรี่ที่มีความจุเยอะ หรือขนาดใหญ่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ มักมีราคารับซื้อสูงกว่าแบตเตอรี่ขนาดเล็ก จึงควรเก็บรักษาแบตเตอรี่เก่าในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ราคารับซื้อที่ดี

สถานที่ขาย

ราคาของแบตเตอรี่เก่าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ เช่น ร้านรับซื้อของเก่า ร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือศูนย์รีไซเคิลที่อาจให้ราคาที่ดีกว่า โดยเฉพาะสำหรับแบตเตอรี่ประเภทที่รีไซเคิลได้ง่าย ซึ่งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้รับซื้อมีใบอนุญาตถูกต้องและมีวิธีการกำจัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มีแบตเตอรี่เก่าอย่าเพิ่งทิ้ง ! เลือกใช้บริการจาก HRT Recycling ผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการที่หลากหลาย ด้วยประสบการณ์การรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์และแร่ ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ในราคารับซื้อที่ครอบคลุม โดยทำการรับซื้อขายแร่ที่จำเป็นมากมาย รวมถึงรับซื้อขายลิเธียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุหลักที่ใช้ในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ ทั้งยังมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด บริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ และโซลูชันการจัดหาแร่ที่ยอดเยี่ยม ด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่เก่าของคุณจะได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมที่สุด

แหล่งอ้างอิง

  1. Everything You Need to Know about Batteries. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.entec.or.th/knowledge-everything-you-need-to-know-about-batteries/
en_USEnglish