EPR คืออะไร ? ศึกษาแนวทางลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ สู่ความยั่งยืน
เมื่อทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาขยะและมลพิษ การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) คือหนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความสนใจและนำมาปรับใช้ทั่วโลก โดยส่งเสริมให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตนเองตลอดวงจรชีวิต ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการจัดการเมื่อสินค้าหมดอายุการใช้งาน
EPR คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ ?
EPR หรือ Extended Producer Responsibility คือกลยุทธ์ที่เพิ่มต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่คาดการณ์ไว้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เข้าไปในราคาตลาดของผลิตภัณฑ์นั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการนำมาใช้ในด้านการจัดการขยะเป็นหลัก โดยแนวคิด EPR มีหลักการพื้นฐานคือ การทำให้ผู้ผลิตและแบรนด์ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาสร้างขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ตั้งแต่การสกัดทรัพยากร การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต และการจัดการเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน
วัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินงาน EPR
- ลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนประกอบที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ เช่น พลาสติก โลหะหนัก ซึ่งอาจกลายเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายหากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม
- ส่งเสริมการรีไซเคิล กระตุ้นให้มีการนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เข้าสู่กระบวนการผลิต ช่วยเพิ่มอัตราการนำวัสดุในขยะมาใช้ซ้ำ เช่น โลหะที่มีค่าจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือวัสดุพลาสติกที่ใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผลดีทั้งในแง่ของการลดขยะและการอนุรักษ์ทรัพยากร
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ป้องกันไม่ให้สารอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำ
- สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
EPR กับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
ในประเทศไทย ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) กำลังเพิ่มสูงขึ้นตามการเติบโตของเทคโนโลยีและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขยะประเภทนี้มีส่วนประกอบของสารเคมีและโลหะหนักที่เป็นอันตราย หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ประเทศไทยได้พัฒนากฎหมายและนโยบายความรับผิดชอบเพื่อบังคับให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าต้องมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการ E-waste ตามหลักการ EPR ทั้งนี้เพื่อให้ระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มีความครบถ้วนตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
องค์ประกอบหลักของ ERP
- ความรับผิดชอบทางการเงิน ผู้ผลิตต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งรวมถึงการเก็บรวบรวม การคัดแยก การขนส่ง และการรีไซเคิลหรือกำจัดอย่างปลอดภัย
- ความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ผู้ผลิตต้องมีส่วนร่วมในการจัดการขยะจริง เช่น การรับคืนผลิตภัณฑ์ การจัดตั้งระบบเก็บรวบรวม การรีไซเคิล หรือการติดต่อกับองค์กรผู้รับผิดชอบด้านการจัดการขยะ
- การส่งเสริมการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้ผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น โดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีอันตราย
- การสร้างตลาดสำหรับวัสดุรีไซเคิล เพิ่มความต้องการวัสดุรีไซเคิลในการผลิตใหม่ สร้างโอกาสทางธุรกิจในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

การขายขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิลตามแผนพัฒนา EPR
หลังจากเกิดความตระหนักรู้ทั่วโลก ประเทศไทยได้ออกแผนการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2562-2573 และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) รวมถึงแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570) ที่ส่งเสริมมาตรการ เช่น การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจและหลักการ EPR โดยผู้ผลิตต้องจัดตั้งระบบเก็บคืนและรีไซเคิล หรือร่วมมือกับองค์กรที่มีหน้าที่ในการรับจัดการขยะอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน เช่น การมอบให้บริษัทที่มีบริการรับซื้อและทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อจัดการอุปกรณ์เก่าอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่เป็นไปตามหลักการ EPR เท่านั้น แต่ยังส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง
สรุปได้ว่า EPR หรือ Extended Producer Responsibility คือแนวทางที่ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องรับผิดชอบตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสารอันตราย รวมถึงส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและองค์กรในการส่งต่ออุปกรณ์เก่า หรือทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้รับผิดชอบที่ได้รับอนุญาต อย่าง HRT Recycling ซึ่งจะช่วยให้ขยะเหล่านี้ถูกกำจัดอย่างปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับกฎ EPR ด้วยประสบการณ์ในการรีไซเคิลมากกว่า 3,000 ตัน และการดำเนินงานที่โปร่งใสตามมาตรฐานสากล อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้ที่ยังคงมีมูลค่า ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับสภาพและตลาดปัจจุบัน
ทีมงานของ HRT Recycling พร้อมให้บริการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงสำนักงานของคุณ หรือสามารถส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาที่เราได้โดยตรง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-675-4962 หรือติดต่อ LINE ID: @hrtrecycling
แหล่งอ้างอิง
- EPR กับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2568 จาก https://www.onep.go.th/epr-กับการแก้ปัญหาสิ่งแวด/
- รู้ทันร่างกฎหมาย EPR ที่ผู้ผลิตต้องเตรียมพร้อมก่อนบังคับ ใช้ในไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2568 จาก https://www.thailand.go.th/issue-focus-detail/001_04_024?hl=th