hrtrecycling.com

เช็กสัญญาณเตือนแบตเตอรี่เก่าเสื่อมสภาพ เอาไปทำอะไรได้บ้าง ?

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ จึงต้องการแหล่งพลังงานจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เสถียรอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้แบตเตอรี่เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสิ้นเปลือง เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ และกลายเป็นขยะที่หลายคนมองข้าม บทความนี้จึงจะพามารู้จักกับแบตเตอรี่แต่ละประเภทให้ละเอียด พร้อมช่วยไขคำตอบว่าแบตเตอรี่เก่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

รู้จักแบตเตอรี่เก่า ก่อนศึกษาว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

ทำความรู้จัก แบตเตอรี่มีกี่ประเภท

ปัจจุบันมีการพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพและหลากหลายชนิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นแบตเตอรี่ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เมื่อพลังงานหมดแล้วไม่สามารถชาร์จไฟใหม่ได้ ต้องทิ้งและเปลี่ยนใหม่ โดยมักใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานต่ำ เช่น รีโมตคอนโทรล นาฬิกาข้อมือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น

  • แบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน เป็นแบตเตอรี่ชนิดแรก ๆ ที่ผลิตขึ้น มีราคาถูก แต่มีพลังงานต่ำ
  • แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ให้พลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน มีอายุการใช้งานนานกว่า เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานปานกลาง
  • แบตเตอรี่ลิเธียม เป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ต้องการพลังงานสูง เช่น กล้องดิจิทัล

แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้

แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ เป็นแบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น

  • แบตเตอรี่กรดตะกั่ว เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในรถยนต์ มีราคาถูก แต่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
  • แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Ni-MH) มีความจุสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่มีปัญหาเรื่องความจำ
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีความหนาแน่นของพลังงานสูง น้ำหนักเบา ชาร์จไฟเร็ว และมีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อป
  • แบตเตอรี่โซเดียมซัลเฟอร์ มีความจุสูงมาก ราคาถูก และมีความปลอดภัยสูง แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องอุณหภูมิในการทำงาน จึงยังไม่เป็นที่นิยมใช้ในอุปกรณ์พกพา

เกร็ดความรู้ : 

ปัญหาด้านความจำ หรือ Memory Effect เกิดขึ้นในกรณีที่เมื่อก่อนหากชาร์จแบตเตอรี่ไม่เต็ม หรือปล่อยให้แบตเตอรี่หมดบ่อย ๆ แบตเตอรี่จะจำสภาพนั้นไว้ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่พบกรณีนี้แล้ว

เช็กสัญญาณเตือน ! แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ

เมื่อแบตเตอรี่เสื่อมสภาพลง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของอุปกรณ์ และอาจเกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้น การสังเกตสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าแบตเตอรี่เสื่อมสภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ได้ทันท่วงที ก่อนจะเกิดปัญหารุนแรง โดยมีสัญญาณเตือน ดังนี้

  • ใช้งานได้น้อยลง ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ โดยมีตัวอย่างของการใช้งานแบตเตอรี่ได้น้อยลง เช่น
    • อุปกรณ์ใช้งานได้ไม่นานเท่าเดิม แม้จะชาร์จจนเต็ม
    • ต้องชาร์จแบตเตอรี่บ่อยขึ้นกว่าปกติ
    • เปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ลดลงเร็วผิดปกติ โดยเฉพาะในช่วง 20-0%
    • อุปกรณ์ดับกะทันหันทั้งที่ยังแสดงว่ามีแบตเตอรี่เหลืออยู่
  • เครื่องร้อนผิดปกติ เนื่องจากแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อจ่ายพลังงาน ทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นกว่าปกติ โดยอุปกรณ์อาจร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วแม้ใช้งานเพียงเล็กน้อย รวมถึงอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้เครื่องทำงานช้าลง หรือค้างบ่อยขึ้น
  • ตัวแบตเตอรี่โป่งพอง โดยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เสื่อมสภาพอาจเกิดการขยายตัว หรือโป่งพองได้ ซึ่งเป็นอันตรายและอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ ซึ่งการพองตัวของแบตเตอรี่ อาจทำให้ฝาหลังของอุปกรณ์เปิดออกมาเอง หรือไม่สามารถปิดสนิทได้

รับซื้อขายแร่ รีไซเคิลแบตเตอรี่ เพื่อทางออกที่ยั่งยืน

 

แบตเตอรี่เก่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ?

เมื่อแบตเตอรี่หมดอายุลง หลายคนมักนำไปฝังใต้ดิน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา แท้จริงแล้วทางเลือกที่ดีที่สุด คือการนำแบตเตอรี่ไปทิ้งในจุดที่รับทิ้งแบตเตอรี่ให้ถูกต้อง โดยเริ่มจากแยกแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ที่ใช้งานก่อน จากนั้นใส่ถุงมัดปิด เพื่อไม่ให้เกิดการลัดวงจรและติดป้ายให้ชัดเจนว่าเป็นขยะมีพิษ แล้วจึงนำไปทิ้งตามจุดที่รับทิ้งต่าง ๆ เพื่อนำเข้าสู่การรีไซเคิล หรือการกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป แต่ยังมีอีกทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นคือการนำแบตเตอรี่ไปขาย !

การขายแบตเตอรี่เก่า ทางออกสู่การกำจัดอย่างยั่งยืน

นอกจากการนำแบตเตอรี่เก่าไปขายหรือรีไซเคิล จะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังสามารถนำไปขายต่อเพื่อสร้างรายได้เสริม ทำให้หลายคนอาจเกิดคำถามตามมาว่า “แบตเตอรี่เก่าขายได้เท่าไหร่ ? แบตเตอรี่เก่ากิโลละกี่บาท ?” ซึ่งราคาของแบตเตอรี่เก่าอาจไม่ได้คำนวณจากกิโลกรัมเพียงอย่างเดียว แต่อาจพิจารณาร่วมจากหลายปัจจัย ดังนี้

ประเภทของแบตเตอรี่

โดยแบตเตอรี่แต่ละชนิดจะมีราคาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และความจุของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ มักจะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียมจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่า

สภาพของแบตเตอรี่

สภาพของแบตเตอรี่มีผลต่อราคาอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าแบตเตอรี่ที่ยังใช้งานได้ดี หรือแบตเตอรี่ที่ชำรุดน้อย จะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ชำรุดเสียหาย อีกทั้งแบตเตอรี่ที่มีความจุเยอะ หรือขนาดใหญ่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ มักมีราคารับซื้อสูงกว่าแบตเตอรี่ขนาดเล็ก จึงควรเก็บรักษาแบตเตอรี่เก่าในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ราคารับซื้อที่ดี

สถานที่ขาย

ราคาของแบตเตอรี่เก่าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ เช่น ร้านรับซื้อของเก่า ร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือศูนย์รีไซเคิลที่อาจให้ราคาที่ดีกว่า โดยเฉพาะสำหรับแบตเตอรี่ประเภทที่รีไซเคิลได้ง่าย ซึ่งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้รับซื้อมีใบอนุญาตถูกต้องและมีวิธีการกำจัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มีแบตเตอรี่เก่าอย่าเพิ่งทิ้ง ! เลือกใช้บริการจาก HRT Recycling ผู้นำด้านการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการที่หลากหลาย ด้วยประสบการณ์การรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์และแร่ ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ในราคารับซื้อที่ครอบคลุม โดยทำการรับซื้อขายแร่ที่จำเป็นมากมาย รวมถึงรับซื้อขายลิเธียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุหลักที่ใช้ในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ ทั้งยังมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด บริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ และโซลูชันการจัดหาแร่ที่ยอดเยี่ยม ด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่เก่าของคุณจะได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมที่สุด

แหล่งอ้างอิง

  1. Everything You Need to Know about Batteries. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.entec.or.th/knowledge-everything-you-need-to-know-about-batteries/
en_USEnglish
Scroll to Top